ClubJZ เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มคนที่ใช้งานเครื่องยนต์ JZ ทุกรุ่น เพื่อที่จะใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ และประสบการณ์ต่างๆ ระหว่างกันโดยไม่ได้หวังผลตอบแทนใดๆ เราหวังว่า คงจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้ที่กำลังหาข้อมูล และผู้ที่มีปัญหาในการ ใช้งาน เครื่อง JZ ไม่มากก็น้อย แต่สิ่งสำคัญที่สุด ที่ทุกๆคนจะได้จาก ClubJZ นี้นั่นคือ มิตรภาพที่เรามีให้กับทุกๆท่านครับ.
|
ประชาสัมพันธ์ ClubJZ! |
1. Login สีส้ม และสีฟ้าไม่อนุญาติให้มีลายเซ็นตั้งแต่วันที่ 07/09/09 เป็นต้นไป 2. ขอเชิญ ผู้ใช้งาน ที่ Login เป็นสีส้ม มาแนะนำตัว ( ชื่อ,รถ,เครื่องยนต์ และเบอร์ติดต่อ) เพื่อเปลี่ยนมาเป็น ClubJZ Member ที่นี่ ครับ 3. User ที่สมัครใหม่ รอ Activate ผ่าน Email ทีกรอกมาด้วยนะครับ User นั้นถึงจะใช้งานได้ ครับ |
ClubJZ! Useful Information คลังเก็บกระทู้ข้อมูล ที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งานเครื่องยนต์ JZ! ครับ |
|
คำสั่งเพิ่มเติม | เรียบเรียงคำตอบ |
01-09-2009, 10:08 | #1 |
Senior Member
วันที่สมัคร: Sep 2007
Car Brand: IsuZu D-max
Engine Type: 2JZ-GE VVT-i
ที่อยู่: ลำลูกกา
กระทู้: 334
Thanks: 3
Thanked 136 Times in 63 Posts
คะแนน: 18
|
ถ้าจะไม่ให้มัน วอล์มเครื่องตอนสต๊าทจะได้ไหม ??
คือสงใสครับ และไม่ค่อยชอบใจเท่าไร ...
ซึ่งเวลาที่มันวอล์ม รอบเครื่องอยู่ที่ 1200รอบ และค่อยๆลดลงจนถึง 600 ซึ่งใช้เวลาเฉลี่ยทั้งสิ้น 1-2 นาทีเลย นี่ว่ากันเฉพาะสต๊าทตอนเช้า หรือตอนเครื่องเย็นนะครับ .... ถ้าเครื่องร้อนก็ปรกติคือไม่วอล์ม ... ปัญหามีอย่างนี้ครับว่า บางครั้ง เราต้องการสต๊าทและออกรถทันที ในจังหวะเร่งรีบ และเมื่อมันวอล์ม รอบเครื่องที่ 1200 แล้วใส่เกียร์ มันพุ่ง และกระตุกแรง และจากที่ผมสังเกตุรถของค่ายโตโยต้า เช่น Vios แคมรี่ เวลาสต๊าท ก็วอล์ม แต่ใช้เวลาเพียงแค่ ไม่ถึง 20วินาที รอบก็ลงมาที่ประมาณ 600รอบแล้ว ..... คำถามครับ ....... เราสามารถทำให้มันไม่วอล์ม หรือ ใช้เวลาในการวอล์มสั้นกว่านี้ได้ไหม ..... ?? ถ้า ได้จะมีผลเสียกับเครื่องยนต์ไหม ?? ถ้าไม่ได้ ทำไม??? |
01-09-2009, 10:38 | #2 |
ClubJZ Staff Member
|
ใส่ วาว น้ำ หรือ เปล่าคับ ถึงวอม 1-2นาที ปกติ แล้วอากาศบ้านเรา ถ้าใส่วาวน้ำ เวลาเครื่องวอมไม่ถึง1 นาที ก็ ลงแล้วอะคับ ความร้อนจะ เหมาะสมกับความต้องการของเครื่องยนต์ ในการทำงานแล้ว คับ
การวอมเครื่อง จะช่วยให้เครื่องอยู่ในสภาวะพร้อม ต่อการทำงานมากที่ สุดคับ เย็นไปก็ไม่ดี ร้อนไปก็ไม่ดี เลยมีวาวน้ำไว้คอย เป็นตัว ตั้ง ค่า ความร้อน ของเครื่อง เอิ๊กๆ ผมเดาเอานะ ตอบตามความคิดของผม อะ 555+++
__________________
กรูไม่รู้..... กรูง่วง !!! |
01-09-2009, 10:59 | #3 |
Member
วันที่สมัคร: May 2008
กระทู้: 32
Thanks: 8
Thanked 7 Times in 7 Posts
คะแนน: 0
|
ดีแล้วครับอย่าไปทำไรมันเลย...ถ้าไม่เอาศัพท์แสงทางด ้านเทคนิคนะครับคุณไปปรับแก้ให้มันไม่วอล์มตอนเช้าๆร อบมันจะตกกึ่งดับเลยนะครับ....ตอนขับจะไม่เป็นไรแต่ต อนเหยียบเบรกปล่อยคันเร่งนี่ต้องคอยลุ้น...ให้มันวอล ์มเหมือนเดิมดีแล้วครับมีประโยชน์
|
01-09-2009, 11:01 | #4 |
Senior Member
วันที่สมัคร: Jun 2007
กระทู้: 54
Thanks: 0
Thanked 10 Times in 10 Posts
คะแนน: 18
|
มันต้องวอลม์ให้เครื่องได้อุณหภูมิ เพราะอุณหภูมิต่ำหรือร้อนเกินไปส่งผลให้เครื่องยนต์ส ึกหรอได้
|
01-09-2009, 11:46 | #5 |
ClubJZ Full Member 2555
|
ตามเพื่อนๆนะนำเลยคำ ว่าแต่ว่า 1-2นาทีเลย ทำไมมันนานจัง ลองเช็ควาวน้ำดูก่อนครับ
|
01-09-2009, 13:19 | #6 | |
Super Moderator
|
อ้างถึง:
ถ้าเมื่อต้องอธิบายกันจริงๆ ผมต้องตั้งสมมุติฐานก่อนว่า คุณไม่ทราบพื้นฐานอะไรเลย เพื่อทำให้การอธิบายได้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ดังนี้ครับ ช่วงที่อุณหภมิในอากาศเย็นตัว (ช่วงดับเครื่องยนต์นานๆตลอดคืน) โมเลกุลของสสาร แทบทั้งหมด จะหดตัว โดยเฉพาะ โลหะ และ ถ้าเกิดอุณหภูมิความร้อนสูงขึ้น โมเลกุลของสสาร จะขยายตัว นั่นคือ สัจจะธรรม ส่วนโลกเรานี้ มีแรงดึงดูด ที่เกิดจากแรงโน้มถ่วง จะทำให้ สสาร ที่มีน้ำหนัก และจะตกลงสู่ด้านล่างเสมอ นี่ก็คือสัจจะธรรม น้ำมันเครื่องที่สำหรับหล่อลื่นนั้น ก็ไม่พ้นสัจจะธรรมข้อนี้ครับ มันจะค่อยๆตกลงสู่ด้านล่าง (ก้นแคร้ง) จนเกลี้ยงเมื่อระยะเวลาผ่านพ้นไประยะเวลาหนึ่งครับ คุณสมบัติของน้ำมันเครื่องนั้น เวลาเกิดความเย็น น้ำมันเครื่องจะเกิดความหนืดกว่า ช่วงเวลาที่เกิดความร้อน แต่ถ้าเราใช้น้ำมันเครื่องที่ใสเกินไป ในช่วงเย็นอยู่ ก็ใสดี แต่พอช่วงที่เครื่องยนต์ทำงานหนัก อุณหภูมิเครื่องยนต์ร้อนจัดๆ น้ำมันเครื่องก็จะใสเกินไปจนหมดสภาพการหล่อลื่น ดังนั้น เราจึงเลือกเกรดน้ำมันเครื่องที่มีความหนืดสูง เพื่อปกป้องช่วงเครื่องยนต์ทำงานหนัก (99% ของอุณหภูมิเครื่องยนต์เวลาใช้งานนั้นอยู่ในช่วงเครื ่องยนต์ทำงานหนัก) หรือเราอาจจะเลือกน้ำมันเครื่องที่มีช่วงความหนืดควา มใส กว้าง ก็ได้ครับ นั่นก็คือ สัจจะธรรม ณ ปัจจุบันครับ เครื่องยนต์เวลาหมุนทำงาน ลูกสูบก็จะถูกข้อเหวี่ยงชักขึ้นชักลงในกระบอกสูบ ไม่ว่าจะเป็นช่วงเครื่องเย็น หรือเครื่องร้อนก็ตาม แต่ว่า ช่วงที่เครื่องเย็นตัว แสดงว่า ต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร ซึ่งจะเป็นช่วงที่น้ำมันเครื่องตกลงสู่ก้นแคร้งหมดเก ลี้ยง แน่นอน เพราะว่า โลหะเมื่อถูกความเย็น จะหดตัว จนเกิดช่องว่าง ยิ่งทำให้น้ำมันเครื่องไหลลงสู่พื้นล่างได้ง่ายยิ่งข ึ้น ขณะที่เครื่องยนต์หมุนอยู่นั้น ปั๊มน้ำมันเครื่องที่อยู่ก้นแคร้ง ก็หมุน ทำงานร่วมไปด้วย แสดงว่า เวลาเครื่องยนต์หมุน ปั๊มน้ำมันเครื่องก็จะดูดน้ำมันเครื่องขึ้นบนเครื่อง ไปหล่อลื่นชิ้นส่วนเครื่องยนต์ไม่ให้เกิดการเสียดสีก ันจนสึกหรอ ************************************ ขอเข้าเรื่องเลยนะครับ เวลาเครื่องเย็น โลหะทั้งหมดหดตัว น้ำมันเครื่องตกอยู่ก้นแคร้ง พอเริ่มสตาร์ท เครื่องยนต์เริ่มหมุน ข้อเหวี่ยงทำงาน เกิดการจุดระเบิด ลูกสูบขึ้นลง ปั๊มน้ำมันเครื่องทำงาน ช่วงเวลา เสี้ยววินาทีนั้น เครื่องยนต์ด้านบนทั้งหมด ไม่มีน้ำมันเครื่องหล่อเลี้ยงอยู่ แต่จำเป็นที่จะต้องถูกบังคับให้ทำงาน ยิ่งถ้าเจอกับ น้ำมันเครื่องที่หนืดมาก จะยิ่งไหลไปหล่อลื่นชิ้นส่วนช้าลง ผลเสียที่เกิดคืออะไรครับ เครื่องยนต์จะเป็นรอย สึกหรอ หลวมง่าย หมดอายุไว ครับ แล้วทำไมจึงต้อง เร่งรอบเครื่องตอนสตาร์ทเย็น เป็นเพราะว่า น้ำมันเครื่องที่ยังเย็นอยู่ จึงมีความหนืดกว่าปกติ ต้องเร่งปั๊มน้ำมันเครื่อง ให้สร้างแรงดัน เพื่อให้รีบฉีดน้ำมันเครื่องให้ไหลเวียนเข้าไปในชิ้น ส่วนให้เร็วที่สุด ขณะที่ชิ้นส่วนโลหะต่างๆยังขยายตัวไม่เต็มที่ ยังไม่เข้าที่เข้าทาง ส่วนสำคัญที่สุดของงานนี้คือ น้ำมันเครื่อง นั่นเองครับ ต้องรีบไหลเข้าไปแทรกระหว่างกลางของชิ้นส่วนต่างๆให้ เร็วที่สุดครับ นี่คือที่มาของการอุ่นเครื่อง โดยให้ความเร็วรอบเครื่องเกิน 1200 รอบแต่ไม่เกิน 1500 รอบ เพื่อจะได้ไม่ทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนักเกินไปขณะที่ ชิ้นส่วนยังขยายตัวไม่เต็มที่ครับ นั่นคือ สิ่งที่ User ต้องทำในช่วงเครื่องเย็น แล้ว ผู้ผลิต มีโอกาสอธิบายเช่นนี้กับ User ทุกท่านหรือไม่ครับ ? เป็นไปไม่ได้ใช่มั้ยครับ ? ทำให้เกิดความคิด ที่จะให้เครื่องยนต์ทำงานแทน User เองอัตโนมัติ โดยการตรวจสอบอุณหภูมิน้ำในเครื่องยนต์ (THW) ว่า ความร้อนขึ้นถึง 80 องศาหรือยัง? ถ้ายัง ก็ให้เร่งเครื่อง (อุ่นเครื่อง) ด้วยประการฉะนี้แล โดยอุณหภูมิยิ่งเข้าใกล้ 80 องศาเท่าไหร่ รอบเครื่องยนต์ก็ยิ่งลดลงเท่านั้น จนกระทั่งเข้าสู่ภาวะปกติครับ เมื่อเรารู้พื้นฐานความเป็นมาเช่นนี้แล้ว จึงไม่จำเป็นที่จะต้องรอให้เครื่องยนต์ อุ่นขึ้นจนถึงจุดภาวะปกติก็ได้ครับ เพียงแค่เราขับเคลื่อนรถออกตัวตอนเครื่องเย็นเลย แต่ออกตัวแบบค่อยๆออก ควบคุมรอบเครื่องไม่ให้ขึ้นสูงเกิน (วิ่งในเกณฑ์ความเร็ว 40 ก.ม./ชั่วโมง แบบค่อยๆเคลื่อนตัว) อุณหภูมิความร้อนจะขึ้นอย่างรวดเร็วครับ พอความร้อนขึ้นถึง 80 องศา ก็ลุยโลดครับ ******************************** คราวนี้มาถึงการตอบคำถามว่า มีวิธีใด ที่สามารถ ออกตัวได้ โดยเกียร์ไม่กระตุก ตอนเครื่องเย็น เราต้องไม่ลืมอย่างหนึ่งว่า เกียร์ออโต้ นั้น ต้องการให้น้ำมันเกียร์ออโต้ อุ่นร้อนถึงระดับหนึ่ง (80 องศา) จึงจะทำงานได้ดี และเครื่องยนต์ ก็ต้องการ ความร้อน ระดับ 80 องศาเช่นกันจึงจะเข้าสู่ภาวะปกติ อีกเรื่องหนึ่งก็คือ เกียร์ออโต้ จะล๊อคไม่ให้ใช้งาน O/D ในช่วงความร้อนต่ำกว่า 60 องศา เพราะว่า จะทำให้ เครื่องยนต์ทำงานหนัก หลวมง่าย และเกียร์ก็ยังไม่พร้อมที่จะทำงานให้ได้ประสิทธิภาพ เนื่องจากว่า น้ำมันเกียร์ยังร้อนไม่ถึงจุดที่ควร อีกเรื่องหนึ่งก็คือว่า ช่วงเวลา รอบเครื่องขึ้นสูงนั้น เป็นธรรมชาติของเกียร์ออโต้ จะเกิดการกระตุกเวลา ออกตัวจาก N -> D หรือ R ครับ เพราะว่า รอบเครื่องสูงก็จะหมุนฟลายวีล และทอร์คคอนเวิร์ทเตอร์ให้หมุนเร็วไปด้วย เกิดการสร้างแรงดันน้ำมันเกียร์ออโต้ให้สูงตามไปด้วย จึงเกิดการกระตุก ด้วยประการฉะนี้แล แต่ไม่ใช่ว่า เราเจอข้อจำกัดประเภทนี้แล้ว เราจะทำแบบที่ จขกท. ต้องการไม่ได้ครับ เนื่องจากว่า ผู้ผลิตรถยนต์มีการทำ ระบบสำรองการทำงานเอาไว้ ครับ โดยที่ ถ้าไม่มีสัญญาณจาก THW เข้าไปหา ECU กล่อง ECU จะปรับข้อมูลให้เข้าใจว่า ขณะนั้นเครื่องยนต์ อุณหภูมิอยู่ที่ 80 องศาทันทีครับ ดังนั้น วิธีทำอย่างที่ จขกท. ต้องการก็คือว่า ทำสวิทช์เปิด/ปิด สัญญาณ THW เข้ากล่องครับ โดยตัดปิดสวิทช์ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์ (จะสตาร์ทยากนิดหน่อยครับ) แต่รอบเครื่องยนต์จะไม่วอร์มให้ครับ ดังนั้น รอบเครื่องจะทำงานในสภาพเหมือนตอนเครื่องร้อนแล้วครั บ การออกตัว จึงขอให้ค่อยๆออก แล้วขับในความเร็วประมาณ 40 ก.ม./ช.ม. ประมาณ 2 นาที แล้วเปิดสวิทช์ THW ครับ จากนั้นขับใช้งานตามปกติครับ อยากให้ สมาชิกและคุณ จขกท. เข้าไปอ่านบทความเกี่ยวกับความร้อนเครื่องยนต์ หมวดว่าเรื่องการระบายความร้อนของเครื่องยนต์ ประกอบการอธิบาย จะได้กระจ่างขึ้นครับ
__________________
JZM - 5
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Moonlight : 01-09-2009 เมื่อ 16:38. |
|
01-09-2009, 16:41 | #7 |
Super Moderator
|
ปกติจ้า
__________________
JZM - 5
|
01-09-2009, 21:19 | #8 |
Senior Member
วันที่สมัคร: Sep 2007
Car Brand: IsuZu D-max
Engine Type: 2JZ-GE VVT-i
ที่อยู่: ลำลูกกา
กระทู้: 334
Thanks: 3
Thanked 136 Times in 63 Posts
คะแนน: 18
|
ขอบคุณครับลุงมูน
ถามเพิ่มเิติมครับ .. เนื่องจากว่า การวอล์ม นั้น ผมรู้สึกว่า มันใช้เวลานานเกินไปครับ ซึ่งถ้าเที่ยบกับรถยนต์ที่ผลิตในไทยแล้ว ใช้เวลาวอล์มสั้นมาก ไม่ทราบว่าเนื่องจาก Jz ดั้งเดิมมันเป็นเครื่องเมืองหนาวหรือเปล่าเค้าถึงได้ ตั้งให้มันวอล์มนานขนาดนั้น ส่วนเรื่องวาล์วน้ำ ผมใส่แน่นอนครับ เพราะพึ่งไปเปลี่ยนมาพร้อมกับเปลี่ยนน้ำในหม้อน้ำด้ว ยเมื่อไม่นานมานี้เอง เราจะสามารถทำให้มันวอล์มสั้นกว่านี้หน่อยได้ไหมครับ หรือว่า เครื่องเค้าถูก Set มาอย่างนี้แล้วเลยแก้ไขไม่ได้ ?? |
01-09-2009, 22:07 | #9 |
Junior Member
วันที่สมัคร: Jun 2008
กระทู้: 23
Thanks: 0
Thanked 7 Times in 6 Posts
คะแนน: 0
|
ลุงมูน ครับ แล้วถ้ารถวิ่งแล้ว จอดไว้ อุณหภูมิจะเริ่มลดลง แล้วถ้าเราสตาร์ท(ด้วยแ ก๊ส)ใหม่ อุณหภูมิอยู่ประมาณ 50 องศา เราเหยียบได้เลยหรือเปล่าครับ หรือต้องรอให้ถึง 80 องศา ก่อนถึงจะโลดได้ครับ
ขอบคุณลุง ล่วงหน้าครับ |
01-09-2009, 22:48 | #10 | ||
Super Moderator
|
อ้างถึง:
คุณเคยเห็นนักกีฬา วอร์มร่างกายก่อนลงแข่งมั้ยครับ เขาไม่ได้ใช้เวลาเป็นตัวกำหนดการวอร์มหรอกนะครับ อขาดูที่อุณหภูมิร่างกาย เหงื่อที่ออกมา ความคล่องตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อที่ยืดหยุ่น ทำไมนักฟุตบอลอังกฤษ เตะฟุตบอลที่เมืองเขา จึงลงเล่นได้นานๆ เล่นเป็นพระเอกเลย แต่พอมาเตะเมืองไทย ทำไมจึงหอบเหนื่อยง่าย ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิอากาศ เหงื่อที่ออกมามากน้อยนั่นเองครับ อ้างถึง:
ตามทฤษฎีแล้ว เราจะวอร์มเครื่องยนต์ ช่วงเช้า ครั้งเดียวเท่านั้นครับ นอกนั้น ลุยได้ตลอดครับ แม้ว่า อุณหภูมิน้ำในเครื่องยนต์จะลดลงมาแล้วก็ตามครับ คงจะถามผมว่า ทำไม? แน่ๆเลย สาเหตุเป็นเพราะว่า ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ยังไม่หดตัวครับ น้ำมันเครื่องที่แทรกตัวหล่อลื่นเป็นฟิล์มกั้นอยู่ระ หว่างโลหะนั้น ยังถูกโลหะกดกั้น (กีดขวาง) ไม่ให้ไหลลงก้นแคร้งได้ง่ายๆหรอกครับ ความร้อนในเครื่องยนต์ ก็ยังลดลงไม่มากครับ ถ้าจอดเฉยๆหลังจากวิ่งรถมาแล้ว ไม่มากกว่า 5 ชั่วโมง ในสถานที่เย็นๆ ก็ไม่ต้องวอร์มแล้วครับ วิ่งใช้ได้เลยครับ แต่มีข้อแม้ว่า ต้องใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพดีๆ เช่นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100% นะครับ บทความก่อนๆ ผมเขียนไว้ ในเชิงความรู้ก็จริงครับ แต่นั่น ผมเว้นวรรคเรื่องหนึ่งไว้ เพื่อป้องกันความสับสนของผู้รับข้อมูลครับ นั่นคือ เรื่องคุณภาพน้ำมันเครื่อง ครับ น้ำมันเครื่องปัจจุบัน มีการพัฒนาในทางที่ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมากๆครับ มีความห่างของความหนืดกว้างมากครับ โดยเฉพาะน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100% จะมีส่วนผสมของ Additive เอาไว้ ซึ่งทำให้ มีสารเคลือบโลหะ เหมือนแผ่นฟิล์มครับ ดังนั้น เวลาเครื่องยนต์เย็นตัว ความเครียดที่เกิดจากการสตาร์ทเครื่องโดยไม่มีน้ำมัน เครื่องหล่อลื่นนั้น ฟิล์มนี้จะช่วยป้องกันการสึกหรอครับ ทำให้การสตาร์ทติดง่าย และไม่เกิดการสั่นในช่วงสตาร์ทเย็นครับ (การสั่นนั้นเกิดจากความฝืดที่อยู่ระหว่างโลหะเสียดสี กัน ยิ่งสั่นมากยิ่งสึกหรอมากครับ) อีกทั้ง ช่วงความกว้างของความหนืดของน้ำมันเครื่อง เช่น 0W - 40 หรือ 5W - 50 เป็นต้น ให้ดูที่เลขตัวหน้านั้น จะบอกถึงความใสของน้ำมัน ทำให้ น้ำมันเครื่องไหลเข้าไปหล่อลื่นได้ง่าย ขณะเดียวกัน ตัวเลขหลัง คือ การคงสภาพความหนืดไว้ได้ ในระดับ 40 หรือ 50 ที่อุณหภูมิความร้อน 210 องศาฟาเรนไฮท์ หรือ 99 องศาเซลเซียส (ถ้าสนใจข้อมูล ก็หาอ่านรายละเอียดบทความเรื่องน้ำมันเครื่องหล่อลื่ นได้ ที่ Forum Technical ครับ) เรื่องอุณหภูมินี้เอง ผมจึงจะกล่าวเสมอๆ ว่า ถ้าความร้อนของเครื่องยนต์ขึ้นถึง ระดับเกือบๆ 100 องศา ให้พึงระวัง เพราะว่า มันจะเริ่มเข้าไปทำลายความหนืดของน้ำมันหล่อลื่น จะกระทั่งสูญเสียความหนืด และระเหยไปได้ครับ
__________________
JZM - 5
|
||
03-09-2009, 10:10 | #11 |
Senior Member
วันที่สมัคร: Sep 2007
Car Brand: IsuZu D-max
Engine Type: 2JZ-GE VVT-i
ที่อยู่: ลำลูกกา
กระทู้: 334
Thanks: 3
Thanked 136 Times in 63 Posts
คะแนน: 18
|
คือ ที่ผ่านมา ผมเคยใช้รถที่มันไม่วอล์มไงครับ ซา .. พวกเครื่องดีเซล หรือ รถค่าย CIVIC อะครับ คือ พอสต๊าทปุ๊บ รอบมันมานิ่งที่ 600รอบเลย และผมก็จะวอล์มโดยออกรถช้าๆ ออกจากซอย กว่าจะถึงถนนใหญ่ก็ประมาณ 1ก.ม. บางที จอดรถไว้ที่ทำงาน จนเครื่องเย็น พอจะออกไปธุระกับเจ้านาย แล้วมาสต๊าทรถเรา เราจะมานั่งรอรถวอล์ม 2-3 นาทีมันก็ใช่ที่ครับ เลยจำเป็นต้องออกรถทันทีที่ขึ้นรถ พอใส่เกียร์ รถกระชาก เจ้านายถาม รถทำไมกระชากจัง .... ประมาณนี้อะครับ ..... |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
เรียบเรียงคำตอบ | |
|
|