ดูแบบคำตอบเดียว
เก่า 01-09-2009, 13:19   #6
Moonlight
Super Moderator
 
รูปส่วนตัว Moonlight
 
วันที่สมัคร: Oct 2006
Car Brand: My Brand
Engine Type: 2JZ-GE VVT-i A/T
ที่อยู่: กรุงเทพฯ
กระทู้: 1,768
Thanks: 633
Thanked 8,042 Times in 1,296 Posts
คะแนน: 19 Moonlight is on a distinguished road
ส่งข้อความผ่าน MSN ถึง Moonlight
อ้างถึง:
กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ apinui อ่านกระทู้
คือสงใสครับ และไม่ค่อยชอบใจเท่าไร ...

ซึ่งเวลาที่มันวอล์ม รอบเครื่องอยู่ที่ 1200รอบ และค่อยๆลดลงจนถึง 600 ซึ่งใช้เวลาเฉลี่ยทั้งสิ้น 1-2 นาทีเลย

นี่ว่ากันเฉพาะสต๊าทตอนเช้า หรือตอนเครื่องเย็นนะครับ .... ถ้าเครื่องร้อนก็ปรกติคือไม่วอล์ม ...

ปัญหามีอย่างนี้ครับว่า บางครั้ง เราต้องการสต๊าทและออกรถทันที ในจังหวะเร่งรีบ และเมื่อมันวอล์ม รอบเครื่องที่ 1200 แล้วใส่เกียร์ มันพุ่ง และกระตุกแรง

และจากที่ผมสังเกตุรถของค่ายโตโยต้า เช่น Vios แคมรี่ เวลาสต๊าท ก็วอล์ม แต่ใช้เวลาเพียงแค่ ไม่ถึง 20วินาที รอบก็ลงมาที่ประมาณ 600รอบแล้ว .....

คำถามครับ .......

เราสามารถทำให้มันไม่วอล์ม หรือ ใช้เวลาในการวอล์มสั้นกว่านี้ได้ไหม ..... ??

ถ้า ได้จะมีผลเสียกับเครื่องยนต์ไหม ??

ถ้าไม่ได้ ทำไม???
มันเป็นไปตามหลักวิชาการของ โลหะวิทยา และเรื่องระบบการหล่อลื่นครับ

ถ้าเมื่อต้องอธิบายกันจริงๆ ผมต้องตั้งสมมุติฐานก่อนว่า คุณไม่ทราบพื้นฐานอะไรเลย เพื่อทำให้การอธิบายได้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ดังนี้ครับ

ช่วงที่อุณหภมิในอากาศเย็นตัว (ช่วงดับเครื่องยนต์นานๆตลอดคืน) โมเลกุลของสสาร แทบทั้งหมด จะหดตัว โดยเฉพาะ โลหะ และ ถ้าเกิดอุณหภูมิความร้อนสูงขึ้น โมเลกุลของสสาร จะขยายตัว นั่นคือ สัจจะธรรม

ส่วนโลกเรานี้ มีแรงดึงดูด ที่เกิดจากแรงโน้มถ่วง จะทำให้ สสาร ที่มีน้ำหนัก และจะตกลงสู่ด้านล่างเสมอ นี่ก็คือสัจจะธรรม น้ำมันเครื่องที่สำหรับหล่อลื่นนั้น ก็ไม่พ้นสัจจะธรรมข้อนี้ครับ มันจะค่อยๆตกลงสู่ด้านล่าง (ก้นแคร้ง) จนเกลี้ยงเมื่อระยะเวลาผ่านพ้นไประยะเวลาหนึ่งครับ

คุณสมบัติของน้ำมันเครื่องนั้น เวลาเกิดความเย็น น้ำมันเครื่องจะเกิดความหนืดกว่า ช่วงเวลาที่เกิดความร้อน แต่ถ้าเราใช้น้ำมันเครื่องที่ใสเกินไป ในช่วงเย็นอยู่ ก็ใสดี แต่พอช่วงที่เครื่องยนต์ทำงานหนัก อุณหภูมิเครื่องยนต์ร้อนจัดๆ น้ำมันเครื่องก็จะใสเกินไปจนหมดสภาพการหล่อลื่น ดังนั้น เราจึงเลือกเกรดน้ำมันเครื่องที่มีความหนืดสูง เพื่อปกป้องช่วงเครื่องยนต์ทำงานหนัก (99% ของอุณหภูมิเครื่องยนต์เวลาใช้งานนั้นอยู่ในช่วงเครื ่องยนต์ทำงานหนัก) หรือเราอาจจะเลือกน้ำมันเครื่องที่มีช่วงความหนืดควา มใส กว้าง ก็ได้ครับ นั่นก็คือ สัจจะธรรม ณ ปัจจุบันครับ

เครื่องยนต์เวลาหมุนทำงาน ลูกสูบก็จะถูกข้อเหวี่ยงชักขึ้นชักลงในกระบอกสูบ ไม่ว่าจะเป็นช่วงเครื่องเย็น หรือเครื่องร้อนก็ตาม แต่ว่า ช่วงที่เครื่องเย็นตัว แสดงว่า ต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร ซึ่งจะเป็นช่วงที่น้ำมันเครื่องตกลงสู่ก้นแคร้งหมดเก ลี้ยง แน่นอน เพราะว่า โลหะเมื่อถูกความเย็น จะหดตัว จนเกิดช่องว่าง ยิ่งทำให้น้ำมันเครื่องไหลลงสู่พื้นล่างได้ง่ายยิ่งข ึ้น

ขณะที่เครื่องยนต์หมุนอยู่นั้น ปั๊มน้ำมันเครื่องที่อยู่ก้นแคร้ง ก็หมุน ทำงานร่วมไปด้วย แสดงว่า เวลาเครื่องยนต์หมุน ปั๊มน้ำมันเครื่องก็จะดูดน้ำมันเครื่องขึ้นบนเครื่อง ไปหล่อลื่นชิ้นส่วนเครื่องยนต์ไม่ให้เกิดการเสียดสีก ันจนสึกหรอ

************************************

ขอเข้าเรื่องเลยนะครับ

เวลาเครื่องเย็น โลหะทั้งหมดหดตัว น้ำมันเครื่องตกอยู่ก้นแคร้ง พอเริ่มสตาร์ท เครื่องยนต์เริ่มหมุน ข้อเหวี่ยงทำงาน เกิดการจุดระเบิด ลูกสูบขึ้นลง ปั๊มน้ำมันเครื่องทำงาน ช่วงเวลา เสี้ยววินาทีนั้น เครื่องยนต์ด้านบนทั้งหมด ไม่มีน้ำมันเครื่องหล่อเลี้ยงอยู่ แต่จำเป็นที่จะต้องถูกบังคับให้ทำงาน ยิ่งถ้าเจอกับ น้ำมันเครื่องที่หนืดมาก จะยิ่งไหลไปหล่อลื่นชิ้นส่วนช้าลง ผลเสียที่เกิดคืออะไรครับ เครื่องยนต์จะเป็นรอย สึกหรอ หลวมง่าย หมดอายุไว ครับ

แล้วทำไมจึงต้อง เร่งรอบเครื่องตอนสตาร์ทเย็น เป็นเพราะว่า น้ำมันเครื่องที่ยังเย็นอยู่ จึงมีความหนืดกว่าปกติ ต้องเร่งปั๊มน้ำมันเครื่อง ให้สร้างแรงดัน เพื่อให้รีบฉีดน้ำมันเครื่องให้ไหลเวียนเข้าไปในชิ้น ส่วนให้เร็วที่สุด ขณะที่ชิ้นส่วนโลหะต่างๆยังขยายตัวไม่เต็มที่ ยังไม่เข้าที่เข้าทาง ส่วนสำคัญที่สุดของงานนี้คือ น้ำมันเครื่อง นั่นเองครับ ต้องรีบไหลเข้าไปแทรกระหว่างกลางของชิ้นส่วนต่างๆให้ เร็วที่สุดครับ นี่คือที่มาของการอุ่นเครื่อง โดยให้ความเร็วรอบเครื่องเกิน 1200 รอบแต่ไม่เกิน 1500 รอบ เพื่อจะได้ไม่ทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนักเกินไปขณะที่ ชิ้นส่วนยังขยายตัวไม่เต็มที่ครับ

นั่นคือ สิ่งที่ User ต้องทำในช่วงเครื่องเย็น แล้ว ผู้ผลิต มีโอกาสอธิบายเช่นนี้กับ User ทุกท่านหรือไม่ครับ ? เป็นไปไม่ได้ใช่มั้ยครับ ?

ทำให้เกิดความคิด ที่จะให้เครื่องยนต์ทำงานแทน User เองอัตโนมัติ โดยการตรวจสอบอุณหภูมิน้ำในเครื่องยนต์ (THW) ว่า ความร้อนขึ้นถึง 80 องศาหรือยัง? ถ้ายัง ก็ให้เร่งเครื่อง (อุ่นเครื่อง) ด้วยประการฉะนี้แล โดยอุณหภูมิยิ่งเข้าใกล้ 80 องศาเท่าไหร่ รอบเครื่องยนต์ก็ยิ่งลดลงเท่านั้น จนกระทั่งเข้าสู่ภาวะปกติครับ

เมื่อเรารู้พื้นฐานความเป็นมาเช่นนี้แล้ว จึงไม่จำเป็นที่จะต้องรอให้เครื่องยนต์ อุ่นขึ้นจนถึงจุดภาวะปกติก็ได้ครับ เพียงแค่เราขับเคลื่อนรถออกตัวตอนเครื่องเย็นเลย แต่ออกตัวแบบค่อยๆออก ควบคุมรอบเครื่องไม่ให้ขึ้นสูงเกิน (วิ่งในเกณฑ์ความเร็ว 40 ก.ม./ชั่วโมง แบบค่อยๆเคลื่อนตัว) อุณหภูมิความร้อนจะขึ้นอย่างรวดเร็วครับ พอความร้อนขึ้นถึง 80 องศา ก็ลุยโลดครับ


********************************

คราวนี้มาถึงการตอบคำถามว่า มีวิธีใด ที่สามารถ ออกตัวได้ โดยเกียร์ไม่กระตุก ตอนเครื่องเย็น

เราต้องไม่ลืมอย่างหนึ่งว่า เกียร์ออโต้ นั้น ต้องการให้น้ำมันเกียร์ออโต้ อุ่นร้อนถึงระดับหนึ่ง (80 องศา) จึงจะทำงานได้ดี และเครื่องยนต์ ก็ต้องการ ความร้อน ระดับ 80 องศาเช่นกันจึงจะเข้าสู่ภาวะปกติ อีกเรื่องหนึ่งก็คือ เกียร์ออโต้ จะล๊อคไม่ให้ใช้งาน O/D ในช่วงความร้อนต่ำกว่า 60 องศา เพราะว่า จะทำให้ เครื่องยนต์ทำงานหนัก หลวมง่าย และเกียร์ก็ยังไม่พร้อมที่จะทำงานให้ได้ประสิทธิภาพ เนื่องจากว่า น้ำมันเกียร์ยังร้อนไม่ถึงจุดที่ควร

อีกเรื่องหนึ่งก็คือว่า ช่วงเวลา รอบเครื่องขึ้นสูงนั้น เป็นธรรมชาติของเกียร์ออโต้ จะเกิดการกระตุกเวลา ออกตัวจาก N -> D หรือ R ครับ เพราะว่า รอบเครื่องสูงก็จะหมุนฟลายวีล และทอร์คคอนเวิร์ทเตอร์ให้หมุนเร็วไปด้วย เกิดการสร้างแรงดันน้ำมันเกียร์ออโต้ให้สูงตามไปด้วย จึงเกิดการกระตุก ด้วยประการฉะนี้แล

แต่ไม่ใช่ว่า เราเจอข้อจำกัดประเภทนี้แล้ว เราจะทำแบบที่ จขกท. ต้องการไม่ได้ครับ เนื่องจากว่า ผู้ผลิตรถยนต์มีการทำ ระบบสำรองการทำงานเอาไว้ ครับ โดยที่ ถ้าไม่มีสัญญาณจาก THW เข้าไปหา ECU กล่อง ECU จะปรับข้อมูลให้เข้าใจว่า ขณะนั้นเครื่องยนต์ อุณหภูมิอยู่ที่ 80 องศาทันทีครับ

ดังนั้น วิธีทำอย่างที่ จขกท. ต้องการก็คือว่า ทำสวิทช์เปิด/ปิด สัญญาณ THW เข้ากล่องครับ โดยตัดปิดสวิทช์ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์ (จะสตาร์ทยากนิดหน่อยครับ) แต่รอบเครื่องยนต์จะไม่วอร์มให้ครับ ดังนั้น รอบเครื่องจะทำงานในสภาพเหมือนตอนเครื่องร้อนแล้วครั บ การออกตัว จึงขอให้ค่อยๆออก แล้วขับในความเร็วประมาณ 40 ก.ม./ช.ม. ประมาณ 2 นาที แล้วเปิดสวิทช์ THW ครับ จากนั้นขับใช้งานตามปกติครับ

อยากให้ สมาชิกและคุณ จขกท. เข้าไปอ่านบทความเกี่ยวกับความร้อนเครื่องยนต์
หมวดว่าเรื่องการระบายความร้อนของเครื่องยนต์ ประกอบการอธิบาย จะได้กระจ่างขึ้นครับ
__________________
JZM - 5

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Moonlight : 01-09-2009 เมื่อ 16:38.
Moonlight is offline   ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
The Following 3 Users Say Thank You to Moonlight For This Useful Post:
Juomaru (06-06-2010), maxx (06-11-2009), nanid (28-11-2010)