ดูแบบคำตอบเดียว
เก่า 18-07-2009, 00:22   #5
Moonlight
Super Moderator
 
รูปส่วนตัว Moonlight
 
วันที่สมัคร: Oct 2006
Car Brand: My Brand
Engine Type: 2JZ-GE VVT-i A/T
ที่อยู่: กรุงเทพฯ
กระทู้: 1,768
Thanks: 633
Thanked 8,042 Times in 1,296 Posts
คะแนน: 19 Moonlight is on a distinguished road
ส่งข้อความผ่าน MSN ถึง Moonlight
อ้างถึง:
กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ มังกรไฮโซ อ่านกระทู้
อ่านขอลเพื่อนๆ มาก้อเยอะละ ไม่นึกว่ารถเราจะ เป็นมั่ง
อาการ คือเข้าเกียร์ D รถวิ่ง เกียร์เปลี่ยน ปกติ แต่ถ้าออกตัวแรงๆเร็วๆ
จังหวะเปลี่ยนเกียร์มีกะตุก .....นับได้เกียร์เปลี่ยน 2ครั้ง ครั้งที่3 นี่ซิ
ไม่ยอมเปลี่ยน ความเร็วที่ 80 รอบเครื่อง3-4 พัน
ความเร็ว 100 รอบเครื่อง 4พัน

ยิ่งเหยียบคันเร่ง รอบยิ่งขึ้นไปอีก จนต้องถอนเท้าออก
เหมือนเกียร์มันยังค้างอยู่ยังไม่ยอมเปลี่ยน

ดูน้ำมันเกียร์แล้วก้อ ไม่ขาด ...ไม่ทราบว่า อาการแบบนี้
หนักหนา ไม๊คับ...แก้ตรงไหนดี
เบื้องต้นว่าจะลองไปถ่ายน้ำมันเกียร์ดู....วิ่งมา2หม ื่นแล้วยังไม่เคยถ่ายน้ำมันเกียร์
แต่ก้อหวั่นๆ อยูาว่า จะ ดีขึ้น รึป่าว
  1. เช็คโค๊ดเกียร์ ถ้าขึ้น 42 หรือ 61 ก็หมายถึง เซนเซอร์ความเร็ว SP1 หรือ/และ SP2 สายสัญญาณขาด หรือ ช๊อต
  2. ตรวจเช็คสวิทช์ O/D อาจจะช๊อต
  3. ตรวจเช็ค สวิทช์เกียร์ว่าง NSW อาจจะช๊อต
  4. เช็คแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว O/D off ว่าเป็น 0 โวลท์ ตลอดหรือไม่
  5. ECU อาจจะชำรุด
ถ้าตรวจเช็คทั้งหมดแล้ว ไม่เป็นดัง ข้อ 1 ถึง 5 ก็แสดงว่า มีปัญหาที่ระบบกลไกครับ เพื่อตรวจเช็คว่า ปัญหาอยู่ที่ตัวเกียร์หรือเปล่า ให้ลองถอดปลั๊กโซลินอยด์ ออกครับ จากนั้นทำดังนี้ครับ

  • สตาร์ทรถ เลื่อนคันเกียร์ มาที่ L รถจะเคลื่อนตัวออกด้วยเกียร์ 1
  • เมื่อรถเคลื่อนตัวด้วยความเร็วได้ระดับหนึ่ง ให้เลื่อนคันเกียร์มาที่ 2 รถจะปรับระดับเกียร์ไปที่เกียร์ 3
  • จากนั้น ให้เลื่อนคันเกียร์ไปที่ D รถจะต้องเคลื่อนตัวไปที่เกียร์ โอเวอร์ไดร์ฟ
ถ้าเป็นเช่นดังกล่าวข้างบน แสดงว่า ระบบแมนนวลของเกียร์ยังทำงานได้ดี สบายใจได้ไปเปลาะหนึ่งครับ

จากนั้น ให้ต่อปลั๊กโซลินอยด์เข้าที่เดิมครับ แล้วตรวจเช็คระบบไฟฟ้า
  • ตรวจเช็คระบบสัญญาณไฟฟ้าที่ลิ้นปีกผีเสื้อครับ เพราะว่าจะส่งสัญญาณมาที่กล่อง ECU เพื่อแปลงค่า L1 L2 L3 ครับ
  • จากนั้นตรวจสอบที่โซลินอยด์ (ถอดโซลินอยด์ตัวที่ 1 และ ตัวที่ 2 ออกมาตัวเช็ค) วาล์วอาจจะค้างเนื่องจากสกปรก ครับ
******************

ทั้งหมดเป็นขั้นตอนในการตรวจเช็คระบบเกียร์ ว่า ทำไม โอเวอร์ไดร์ฟ หรือ เกียร์ 4 ไม่ทำงานครับ

วิธีการตรวจเช็ค ลิ้นปีกผีเสื้อ ซึ่งส่งค่ามาที่กล่อง แปลงสัญญาณเป็นค่า L1 L2 L3 ดังนี้ครับ

อ้างถึง:
การวิเคราะห์ตรวจสอบเซนเซอร์ตำแหน่งปีกผีเสื้อ


ปีกผีเสื้อนั้น เป็นเชื่อเรียกของช่างชาวบ้านทั่วไปเพื่อสื่อให้ผู้ใ ช้รถ หรือช่างด้วยกันเองรับรู้ว่า มันมีลักษณะเป็นอย่างไร แต่จริงๆแล้ว ภาษาทางการ จะเรียกว่า ลิ้นเร่ง หรือ Throttle ซึ่ง เซนเซอร์ตำแหน่งปีกผีเสื้อ ก็คือ เซนเซอร์ตำแหน่งลิ้นเร่ง หรือ Throttle Position Sensor นั่นเองครับ
ก่อนที่ผมจะแจ้งบอกค่าการวัดและตั้ง เซนเซอร์ตำแหน่งลิ้นเร่ง ผมอยากจะบอกเล่าถึง หน้าที่ของมันก่อน เพื่อความเข้าใจ และเป็นความรู้ทั่วไปครับ (ใครไม่สนใจ จะอ่านข้ามไปเลยก็ได้ครับ)

เซนเซอร์ตำแหน่งลิ้นเร่ง จะติดตั้งอยู่ที่ปากทางของท่อร่วมไอดีอยู่ติดกับตัวล ิ้นเร่ง มีหน้าที่ตรวจจับตำแหน่งของมุมการเปิดและปิดของลิ้นเ ร่ง แล้วแปลงสัญญาณข้อมูล(ไฟฟ้า)ไปให้ ECU (เกียร์ออโต้) เพื่อควบคุมช่วงเวลาการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ และสั่งการทำงานล๊อคอัพคลัทช์

ตำแหน่งและมุมการเปิด/ปิดของลิ้นเร่ง(ปีกผีเสื้อ) จะถูกเซนเซอร์นี้แปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า โดยจะมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 5 โวลท์จาก ECU มาอยู่ที่ขั้ว Vcc
ถ้าลิ้นเร่งปิด ที่ขั้ว VTA จะมีแรงเคลื่อนต่ำมาก (ประมาณ 0 โวลท์) เนื่องจากแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่มาจากขั้ว Vcc จะต้องไหลผ่านหน้าสัมผัสที่มีความต้านทานที่เปลี่ยนแ ปลงค่าได้ (
ถ้า ไม่เข้าใจก็ให้คิดถึง ลูกลอยน้ำมันในถังน้ำมัน ที่แปลงระดับน้ำมันเป็น ไฟฟ้าแจ้งส่งสัญญาณไปที่หน้าปัดออกเป็นเกจ์วัดระดับน ้ำมัน : Moonlight)
ดังนั้นถ้าลิ้นเร่งเปิดกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว VTA ก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆตามตำแหน้งของหน้าสัมผัสระหว ่างขั้ว Vcc และ VTA ที่กำลังเคลื่อนที่ไป ทำให้ ECU ทราบถึงตำแหน่งของลิ้นเร่ง และขณะเดียวกัน ECU ก็จะส่งสัญญาณไฟฟ้าออกมาไปเข้าขั้ว L1, L2 และ L3 (ECU เกียร์) เพื่อแจ้งให้ ECU เกียร์รับรู้ถึงตำแหน่งลิ้นเร่งว่าอยู่ตำแหน่งไหนแล้ ว
สัญญาณไฟฟ้าที่ขั้ว L1, L2, L3 และ IDL จะมีแรงเคลื่อนสูงและต่ำ ดังนี้ (
จริงๆ แล้วจะเป็นรูปกราฟ แต่ผมไม่สะดวก Scan ภาพมาลง และคิดว่า เขียนเป็นตัวเลขแจกแจงออกมา ท่านสมาชิกผู้สนใจทั่วไปจะเข้าใจง่ายกว่าครับ)
  • มุมการเปิดของลิ้นเร่ง 0% ค่า L1, L2 และ L3 = 5 โวลท์ และ ค่า IDL = 0 โวลท์
  • มุมการเปิดของลิ้นเร่ง 7% ค่า L1, L2 และ L3 = 5 โวลท์ และ ค่า IDL = 12 โวลท์
  • มุมการเปิดของลิ้นเร่ง 15% ค่า L1 และ L2 = 5 โวลท์ L3 = 0 โวลท์ และ ค่า IDL = 12 โวลท์
  • มุมการเปิดของลิ้นเร่ง 25% ค่า L1 = 5 โวลท์ L2 และ L3 = 0 โวลท์ และ ค่า IDL = 12 โวลท์
  • มุมการเปิดของลิ้นเร่ง 35% ค่า L1 และ L3 = 5 โวลท์ L2 = 0 โวลท์ และ ค่า IDL = 12 โวลท์
  • มุมการเปิดของลิ้นเร่ง 50% ค่า L1 และ L2 = 0 โวลท์ L3 = 5 โวลท์ และ ค่า IDL = 12 โวลท์
  • มุมการเปิดของลิ้นเร่ง 65% ค่า L1, L2 และ L3 = 0 โวลท์ และ ค่า IDL = 12 โวลท์
  • มุมการเปิดของลิ้นเร่ง 85% ค่า L1 และ L3 = 0 โวลท์ L2 = 5 โวลท์ และ ค่า IDL = 12 โวลท์
  • มุมการเปิดของลิ้นเร่ง 100% ค่า L1 = 0 โวลท์ L2 และ L3 = 5 โวลท์ และ ค่า IDL = 12 โวลท์
หมายเหตุ :
มุมการเปิดของลิ้นเร่ง 0% = ลิ้นเร่ง(ปีกผีเสื้อ) ปิด = ไม่ได้เหยียบคันเร่ง
และ มุมการเปิดของลิ้นเร่ง 100% = ลิ้นเร่ง(ปีกผีเสื้อ) เปิด = เหยียบคันเร่งสุดเต็มที่


จะเห็นได้ชัดเจนว่า ค่า L1, L2, L3 และ IDL จะมีค่าเปลี่ยนแปลงตาม%การเปิดกว้าง ของลิ้นปีกผีเสื้อ เพื่อให้ ECU เกียร์สั่งงานให้เกียร์ออโต้ ปรับเปลี่ยนเกียร์สัมพันธืกับความเร็วรถ และความเร็วรอบเครื่องยนต์
อย่างไรก็ตาม ถ้าสัญญาณที่ส่งเข้า ECU ผิดปกติ จะทำให้เกียร์ทำงานผิดปกติไปตามสัญญาณ ดังนี้
  1. ถ้า สัญญาณที่ขั้ว IDL ผิดปกติ(อาจจะเกิดจากขั้ว IDL ช๊อตลงกราวน์) จะทำให้ ล๊อคอัพคลัทช์ไม่ทำงาน หรือระบบควบคุมการกระตุกขณะเลื่อนคันเกียร์จากตำแหน่ ง N ไป D ไม่ทำงาน (การ ที่ผู้ใช้รถท่านใดรับรู้ถึงว่า เกียร์กระตุกเวลาเลื่อคันเกียร์จาก N ไป D นั้น นอกจากอาจจะเป็นเพราะข้อนี้แล้ว ถ้าไม่มีสัญญาณไฟเบรค (STP) เข้า ECU ก็จะกระตุกได้เช่นกันครับ : Moonlight)
  2. ถ้าสัญญาณที่ขั้ว L1, L2, L3 ผิดปกติ อาจจะทำให้ช่วงเวลาการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ไม่เหมาะส มกับสภาพการใช้งานปกติได้ครับ

ส่วนการตรวจสอบโซลินอยด์นั้น ก่อนอื่นให้ตรวจสอบแรงต้านทานที่ขั้ว S1 S2 S3 ที่กล่อง ECU กับสายกราวน์ จะต้องได้ค่าประมาณ 11 - 15 โอห์ม จึงจะถูกต้อง

จากนั้น ให้เปิดฝาแคร้ง ถอดโซลินอยด์ ตัวที่ 1 และ 2 ออกมาตรวจเช็คครับ โดยใช้ไฟแบตฯ 12 โวลท์จี้ไปที่ขั้ว + ของโซลินอยด์ ส่วนขั้วลบให้จี้ที่ตัวเสื้อของโซลินอยด์ (เปลือกนอก) ให้สังเกตุการทำงานครับ (มีการขยับตัวของวาล์วครับ)

จากนั้นให้ใช้ลมที่มีแรงดันประมาณ 5 กก.ต่อ ตารางเซนติเมตร เป่าเข้าไปที่วาล์ว จะต้องไม่รั่ว และเมื่อป้อนกระแสไฟ 12 โวลท์เข้าไป วาล์วจะต้องระบายลมออกมาครับ ถ้าเป็นเช้นนี้ จึงถือว่า ผ่าน ครับ ถ้าไม่ผ่าน ให้ลองทำความสะอาดแล้ว ทดสอบใหม่ครับ ถ้าไม่ผ่านอีก ก็ต้องเปลี่ยนแล้วครับ

ไหนๆก็ถอดแคร้งแล้ว ให้ทำความสะอาดกรองน้ำมันและแม่เหล็กที่ก้นแคร้งด้วย นะครับ
__________________
JZM - 5

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Moonlight : 18-07-2009 เมื่อ 00:25.
Moonlight is offline   ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
The Following 7 Users Say Thank You to Moonlight For This Useful Post:
bellz222 (20-11-2011), dragonballz (28-12-2009), font21717 (06-08-2013), joe-civil@jz (20-08-2010), JZ_P_MAYIM (30-10-2009), krupree (29-10-2009), vongsarod (25-12-2009)