ClubJZ เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มคนที่ใช้งานเครื่องยนต์ JZ ทุกรุ่น เพื่อที่จะใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ และประสบการณ์ต่างๆ ระหว่างกันโดยไม่ได้หวังผลตอบแทนใดๆ เราหวังว่า คงจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้ที่กำลังหาข้อมูล และผู้ที่มีปัญหาในการ ใช้งาน เครื่อง JZ ไม่มากก็น้อย แต่สิ่งสำคัญที่สุด ที่ทุกๆคนจะได้จาก ClubJZ นี้นั่นคือ มิตรภาพที่เรามีให้กับทุกๆท่านครับ.

Loading
Search In ClubJZ.net


กลับไป   ClubJZ Forums > ClubJZ ! Main Forums > ClubJZ! Useful Information
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน กระทู้ใหม่วันนี้
ประชาสัมพันธ์ ClubJZ!

1. Login สีส้ม และสีฟ้าไม่อนุญาติให้มีลายเซ็นตั้งแต่วันที่ 07/09/09 เป็นต้นไป

2. ขอเชิญ ผู้ใช้งาน ที่ Login เป็นสีส้ม มาแนะนำตัว ( ชื่อ,รถ,เครื่องยนต์ และเบอร์ติดต่อ) เพื่อเปลี่ยนมาเป็น ClubJZ Member ที่นี่ ครับ

3. User ที่สมัครใหม่ รอ Activate ผ่าน Email ทีกรอกมาด้วยนะครับ User นั้นถึงจะใช้งานได้ ครับ



ClubJZ! Useful Information คลังเก็บกระทู้ข้อมูล ที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งานเครื่องยนต์ JZ! ครับ

ตอบกลับ
 
คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
เก่า 07-03-2009, 13:02   #1
อ้นหมีทุย
ClubJZ Full Member 2557
 
รูปส่วนตัว อ้นหมีทุย
 
วันที่สมัคร: Jun 2008
Car Brand: Toyota Tiger
Engine Type: 2JZ-GE
ที่อยู่: Nonthaburi
กระทู้: 255
Thanks: 380
Thanked 93 Times in 41 Posts
คะแนน: 16 อ้นหมีทุย is on a distinguished road
สาระน่ารู้เกี่ยวกับ เฟืองท้าย

เฟืองท้าย (Differential)
บางครั้งเรียกว่า Final gear คืออุปกรณ์ส่งต่อแรงหมุนจากเพลาขับ (Axle) ไปยังดุมล้อ (Hub) และในขณะเดียวกัน เฟืองท้าย จะมีอัตราส่วนการทดรอบด้วย แต่จะไม่สามารถเปลี่ยนอัตราส่วนการทดรอบ เป็นหลายระดับเหมือนเกียร์

โครงสร้างและการทำงานของชุดเฟืองท้าย
ภายในชุดเฟืองท้าย ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่จะทำหน้าที่ถ่ายทอดกำลังงานไปยังล้อรถยนต์ ได้แก่ เฟืองเดือยหมู,เฟืองบายศรี, เฟืองดอกจอก,เฟืองขับเพลาข้าง ซึ่งจะประกอบกันในตำแหน่งต่าง ๆชุดเฟืองท้ายทำงานโดยอาศัยการหมุนขบกันของเฟืองต่าง ๆ ซึ่งจะทำหน้าที่ต่าง ๆ กันดังนี้

1. เฟืองเดือยหมู ทำหน้าที่ถ่ายทอดกำลังงานของเครื่องยนต์ไปยังเฟืองบา ยศรี

2. เฟืองบายศรี ทำหน้าที่เปลี่ยนทิศทางการถ่ายทอดกำลังงานที่ถ่ายทอด จากเฟืองเดือยหมู 90 องศา เพื่อขับเพลาข้าง และลดอัตราทดเกียร์ คือ ลดความเร็วรอบ ให้เหมาะสมกับขนาดของล้อรถยนต์ โดยเฟืองบายศรีจะหมุนช้ากว่าเฟืองเดือยหมู

3. เฟืองดอกจอก ทำหน้าที่ แบ่งแยกกำลังงาน ที่จะส่งไปยังเพลาข้างซ้ายและขวา เพื่อความเร็วแตกต่างกันในขณะขับรถเลี้ยวโค้ง

4. เฟืองข้าง ทำหน้าที่ ขับเพลาข้างเพื่อไปหมุนล้อรถยนต์

เฟืองท้ายแบบลิมิเต็ดสลิป (Limited slip)
ระบบเฟืองท้ายแบบนี้ จะใช้วิธีเพิ่มคลัทช์ เข้าไปในเฟืองท้าย ไว้สำหรับล็อคเพลาทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้เพลาทั้ง 2 ข้าง หมุนไปด้วยความเร็วเท่ากัน เช่น กรณีรถตกหล่ม หรือตกโคลนที่มีความลื่น หากเป็นระบบเฟืองท้ายแบบธรรมดา ล้อข้างที่ตกหล่มจะหมุนฟรี ทำให้ล้อข้างที่เหลือ ไม่มีแรงฉุดเพียงพอที่จะพยุงรถขึ้นมาได้ แต่ถ้าเป็นระบบเฟืองท้ายแบบลิมิเต็ดสลิป คลัทช์ที่อยู่ในเฟืองท้าย จะล็อคล้อข้างที่อยู่ในหล่ม ไม่ให้หมุนฟรี จึงทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนกับล้อข้างที่เหลือ ในการฉุดรถที่ตกหล่มให้ขึ้นมาได้

ข้อแนะนำการใช้น้ำมันเฟืองท้าย
เพื่อให้ประสิทธิภาพการทำงานของชุดเฟืองท้ายเต็มสมรร ถนะตลอดเวลา ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเฟืองท้ายทุก ๆ 20,000 กม. หรือ1 ปี
การใช้น้ำมันหล่อลื่นชุดเฟืองท้าย จะขึ้นอยู่กับประเภทของชุดเฟืองท้าย ดังนี้

ชุดเฟืองท้ายด้านหน้า แยกออกเป็น 2 แบบ คือ
ชุดเฟืองท้ายด้านหน้าของรถยนต์ขับเคลื่อน 2 ล้อหน้าจะหล่อลื่นด้วยน้ำมันตัวเดียวกับน้ำมันเครื่อ ง
ชุดเฟืองท้ายด้านหน้าของรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ จะหล่อลื่นด้วยน้ำมันเฟืองท้าย SAE90 API GL-5

ชุดเฟืองท้ายด้านหลัง แยกออกเป็น 2 แบบ คือ
ชุดเฟืองท้ายด้านหลังของรถยนต์ขับเคลื่อน 2 ล้อหลัง จะหล่อลื่นด้วยน้ำมันเฟืองท้าย SAE 90 หรือ SAE 140 API GL-5 (ตรวจสอบจากคู่มือรถ)
ชุดเฟืองท้ายด้านหลังของรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อจะหล่อลื่นด้วยน้ำมันเฟืองท้ายแบบลิมิตเต็ดสลิป
การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเฟืองท้ายควรเติมน้ำมันเฟืองท้า ยชนิดเดียวกันลงไป

การตรวจสอบและเปลี่ยนน้ำมันเฟืองท้าย
ยกรถขึ้นให้มีระดับเสมอกัน
ถอดปลั๊กเติมน้ำมันออก
สอดนิ้วเข้าไปในช่องเติมน้ำมัน และตรวจดูว่าปลายนิ้ว สัมผัสถูกน้ำมันเฟืองท้ายหรือไม่ (น้ำมันเฟืองท้ายไม่ควรอยู่ต่ำกว่าช่องเติมน้ำมันเกิ น 5 มม.)
ถ้าน้ำมันอยู่ต่ำกว่าช่องเติมน้ำมันเกิน 5 มม. หรือปลายนิ้ว สัมผัสไม่ถูกน้ำมันเฟืองท้าย ให้เติมน้ำมันเฟืองท้ายลงไปจนได้ ระดับที่กำหนดไว้
ตรวจเช็คว่ามีรอยรั่วของเฟืองท้ายและเสื้อเพลาท้าย

เช็คทำความสะอาดปลั๊กเติมน้ำมัน, ช่องเติมน้ำมัน และ ตรวจดูความเสียหายของปะเก็น
ประกอบปลั๊กเติมน้ำมันเข้าที่เดิมลดรถลง

ข้อควรระวัง
ในการตรวจสอบระดับและการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเฟืองท้ายค วรหลีกเลี่ยงการตรวจสอบระดับหรือเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเฟ ืองท้ายในขณะที่น้ำมันเฟืองท้ายยังร้อนอยู่ เพราะอาจจะถูกลวกมือได้
ควรตรวจดูให้แน่ใจก่อนว่า น้ำมันเฟืองท้ายที่จะเติมลงไปในเฟืองท้าย จะต้องเป็นน้ำมันเฟืองท้ายที่ตรงตามกำหนดไว้เพราะถ้า เติมน้ำมันเฟืองท้ายผิดประเภทอาจจะก่อให้เกิดความเสี ยหายกับชุดเฟืองท้ายได้

ที่มา : http://www.lancer-club.net/forum/index.php?topic=7349.0
__________________
JZ_M240
อ้นหมีทุย is offline   ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
The Following 6 Users Say Thank You to อ้นหมีทุย For This Useful Post:
Buta_JZ (24-10-2009), Lucky (03-06-2011), Moonlight (22-10-2009), pookza (22-10-2009), toetsak466 (23-10-2009), trucking05 (17-01-2011)
เก่า 07-03-2009, 13:12   #2
อ้นหมีทุย
ClubJZ Full Member 2557
 
รูปส่วนตัว อ้นหมีทุย
 
วันที่สมัคร: Jun 2008
Car Brand: Toyota Tiger
Engine Type: 2JZ-GE
ที่อยู่: Nonthaburi
กระทู้: 255
Thanks: 380
Thanked 93 Times in 41 Posts
คะแนน: 16 อ้นหมีทุย is on a distinguished road
Lsd

LSD ก็ คือ Limited slip Differrential

หลักการทำงานของลิมิตเต็ดสลิป
เมื่อล้อข้างใดข้างหนึ่งหมุนฟรีกำลังขับเคลื่อนจะถูก ส่งจากล้อที่หมุนเร็วกว่าไปยังล้อที่หมุนช้ากว่า ทำให้ล้อที่หมุนฟรีอยู่มีลดกำลังขับเคลื่อนลง ขณะที่ล้ออีกข้างหนึ่งจะมีกำลังขับเคลื่อนมากกว่า ทำให้สามารถพารถเคลื่อนตัวต่อไปได้ โดยเทคนิคการออกแบบกลไกนี้จะมีการออกแบบมาหลายลักษณะ แต่โดยรวมจะให้มีการส่งกำลังขับมายังล้อที่อยู่ตรงข้ ามกับล้อที่หมุนฟรี วิธีที่ใช้และใช้มากกว่าวิธีอื่นคือใช้ความฝืดของแผ่ นครัทซ์เปียกซ้อนกันหลายแผ่นเป็นตัวควบคุมกำลังขับเค ลื่อนไปยังล้อทั้งคู่โดยออกแบบกลไกภายในชุดตัวเรือนเ ฟืองดอกจอกให้มีชุดครัทซ์เป็นตัวส่งกำลังร่วมอยู่ที่ ด้านหลังเฟืองดอกจอกตัวใหญ่หรือเฟืองหัวเพลาขับทั้ง2 ข้างแทนที่จะส่งกันโดยตรงเพียงอย่างเดียวในเฟืองท้าย ปกติทั่วไป และมีกลไกที่ทำให้ครัทซ์จับตัวเช่น ใช้สปริงกดเมื่อมีการลื่นไถลของล้อข้างใดข้างหนึ่งทำ ให้เกิดการส่งกำลังขับเคลื่อนไปที่ล้อทั้งคู่ บางรุ่นก็ใช้แรงบิดจากระบบส่งกำลังมาทำให้ครัทซ์จำตั ว หรือ แบบสปริงกดกระทำกับเฟืองแบบจานประกบกันและสวมกับหัวเ พลาขับ เมื่อมีการเลี้ยวหรือล้อทั้ง2ข้างหมุนไม่เท่ากัน เฟืองที่ประกบกันอยู่จะแยกออกจากกัน ซึ่งจะทำให้เกิดเสียงดังจากการที่ร่องฟันเฟืองหมุนเส ียดสีกัน ซึ่งแบบนี้มีใช้มานานแล้วในรถบางประเภทเท่านั้น

% เต็ด เท่าไหร่ดี ที่เหมาะกับการดริฟท์

เต็ด 100 % คือ ล้อซ้ายและขวา หมุน เท่ากันตลอดเวลา ข้อดีคือ ดริฟท์ ง่าย ล้อ ไม่มีการสูญเสียกำลัง ล้อฟรีทั้ง 2 ล้อ แต่ข้อเสียคือ ถ้าใช้ในชีวิตประจำวัน คง ลำบากหน่อย คับ เลี้ยวยาก มีเสียง ดัง ยางสึก โดยไม่จำเป็น
แต่ ถ้า % น้อยลงมาหน่อยก็ สามารถใช้ในชีวิตประจำวัน ได้ แต่ อาการ ดริฟท์คงสู้ 100 % ไม่ได้
ก็ลอง เลือก ละกาน คับ ได้อย่าง ก็ต้องยอมเสีย อย่าง แต่ถ้าอยากได้ ทั่งสองอย่าง ก็ คงได้แบบไม่เต็มๆ

แนะนำ เฟืองท้ายสกายไลน์ที่มี LSD คับ % จับ ค่อนข้าง ดี ใช้ในชีวิตประจำวันได้ คับ


LSD 1way 1.5way 2way แตกต่างกันยังไง
Limeted slip ทั้ง 3 แบบนั้นเป็น Limited slip แบบที่ใช้แผ่นครัทซ์เปียกเป็นตัวล็อคเพลาข้างทั้งสอง
ซึ่งหลักการทำงานคือ เมื่อมีแรงบิดจากเครื่องยนต์กระทำสู่ชุดเรือนเฟืองดอ กจอกที่มีตัว Limited slip อยู่ แรงบิดจะทำให้ตัวกดแผ่นครัทซ์นั้นถ่างออก ทำให้ไปกดแผ่นครัทซ์ให้ล็อคกัน ก็จะทำให้เพลาข้างทั่ง 2 ด้าน ล็อค และหมุนไปพร้อมๆ กันโดยไม่มีการสูญเสียกำลังไปยังด้านใดด้านหนึ่ง
ซึ่งแต่ละแบบนั้นมีหลักการทำงานคล้ายกันแต่ต่างกันตร งที่ลักษณะการส่งแรงบิด

แบบ 1 Way
แบบนี้จะเป็น Limited slip ที่มีการจับตัวกันของแผ่นคลัทซ์ โดยแผ่นคลัทซ์จะจับตัวกันเมื่อมีแรงบิดจากเครื่องยนต ์ในทิศทางเดียวเท่านั้น คือ เข้าเกียร์เดินหน้า แล้วกดคันเร่งส่งแรงบิดไปยังเฟืองท้าย พูดง่ายๆ เมื่อ กดเร่งมากเท่าไหร่ ครัทซ์ก็ยิ่งจับมากขึ้นเท่านั้น
แบบ 2 Way
แบบนี้ การทำงานก็จะคล้ายๆ กับแบบ 1 Way แต่ ว่า แบบ 2Way นั้นแผ่นคลัทซ์สามารถจับตัวกันได้ขณะเครื่องยนต์ส่งแ รงบิดมายังชุดเรือนเฟืองดอกจอก ในทิศทางการหมุน ทั้ง 2 ทิศทาง ( เดินหน้าและถอยหลัง ) แรงที่กดแผ่นครัทซ์จะจับตัวด้วยแรงที่เท่ากัน ทั้งสองทิศทาง
พูดง่ายๆ คือ Limited slip จะทำงานก็ต่อเมื่อ กดคันเร่งเดินหน้า, ถอยหลัง หรือแม้แต่ ขณะ ถอนคันเร่งให้เกิด Engine Brake (แรงหน่วงจากเครื่องยนต์ก็จะทำให้เกิดการกดของแผ่นคร ัทซ์ด้วย)

แบบ 1.5 Way
แบบนี้ก็เหมือน กับแบบ 2 Way คือจะทำงานได้ ในขณะที่มีแรงบิด ได้ทั่ง 2 ทิศทาง
แต่ !! แรงกดของแผ่นคลัทซ์ในขณะถอยหลัง หรือ ขณะถอนคันเร่งให้เกิด Engine brake นั้น จะน้อยกว่าแรงกดขณะที่กดคันเร่งตอนเดินหน้า เพราะว่า มุมที่ทำให้ตัวกดแผ่นครัทซ์ถ่างออกตอนถอยหลังนั้น น้อยกว่า มุม ตอนเดินหน้า ก็ จะทำให้แรงกดนั้นน้อยกว่า


ที่มา : http://www.accordclubthailand.com/we...?topic=26448.0
__________________
JZ_M240
อ้นหมีทุย is offline   ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
The Following 7 Users Say Thank You to อ้นหมีทุย For This Useful Post:
billydasinner (21-04-2013), Lucky (03-06-2011), maxza1988 (05-03-2012), Moonlight (22-10-2009), NooM 1JZ (02-06-2011), pookza (22-10-2009), trucking05 (17-01-2011)
ตอบกลับ



กฎการส่งข้อความ
คุณไม่สามารถเริ่มหัวข้อใหม่ได้
คุณไม่สามารถตอบกระทู้ได้
คุณไม่สามารถแนบไฟล์ได้
คุณไม่สามารถแก้ไขกระทู้ของคุณเองได้

โค้ด vB ใช้ได้
[IMG] โค้ด ใช้ได้
โค้ด HTML ใช้ได้
กระโดดไป

หัวข้อที่คล้ายกัน
หัวข้อ ผู้เริ่มหัวข้อ ฟอรั่ม ตอบกลับ กระทู้ล่าสุด
เฟืองท้าย 4.1 กะ 4.3 วิ่งแล้วต่างกันอย่างไรครับ m_seven7 ClubJZ! Useful Information 11 16-10-2009 07:17
2 j vvti เฟืองท้าย 4.1 jenglh ClubJZ ! GAS 1 18-09-2009 23:41
รูปการติดตั้ง GAS 2JZGTE กับ AG e34-3.9 เฟืองท้าย hs9hig ClubJZ ! GAS 21 12-02-2009 02:52
เทอร์โบ กะ เฟืองท้าย เป็นเพื่อนกันได้หรือไม่ ........... SWEET ClubJZ! Useful Information 8 26-10-2007 10:01
พื้นฐานรถยนต์-เพลากลาง + เฟืองท้าย mungkorn2 ClubJZ! Useful Information 2 23-08-2007 18:21


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 14:43


Powered by vBulletin รุ่น 3.6.8 Copyright ©2000-2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
ClubJZ. NET Bestview 1024 * 768 and 1208 * 1024 pixels