ดูแบบคำตอบเดียว
เก่า 19-12-2008, 15:03   #3
AEK_Korat
Member
 
วันที่สมัคร: Oct 2006
Car Brand: Mitsubishi Strada
Engine Type: 2J Turbo
ที่อยู่: ห้วยแถลง โคราช
อายุ: 42
กระทู้: 26
Thanks: 4
Thanked 25 Times in 12 Posts
คะแนน: 0 AEK_Korat is on a distinguished road
ระบบการประจุไฟฟ้าของรถยนต์ทุกคันมีไฟสัญญาณเตือนบนแ ผงหน้าปัดแสดงเป็น ไฟรูปแบตเตอรี่โดยมิได้เป็นการเตือนว่าแบตเตอรี่หมดห รือเต็ม แต่เป็นการแสดงถึงความปกติหรือผิดปกติของระบบไดชาร์จ หากทุกอย่างปกติ เมื่อปิดกุญแจในจังหวะแรก ไฟเตือนต้องสว่างนิ่ง และเมื่อเครื่องยนต์ถูกสตาร์ท และทำงานแล้ว ไฟเตือนจะดับลงตลอดการขับ
หากเครื่องยนต์ยังทำงานอยู่แล้วมีไฟเตือนสว่างขึ้น แสดงว่าระบบการประจุไฟฟ้าบกพร่อง แบ่งเป็น 2 กรณี คือ ไดชาร์จเสีย (หรือระบบการประจุไฟฟ้าเสีย) หรือสายพานไดชาร์จขาด ต้องรีบจอดรถในที่ปลอดภัยเพื่อลงมาตรวจดูสายพานเป็นอ ย่างแรก ถ้าสายพานไม่ขาด แสดงว่าระบบไดชาร์จเสีย แต่ยังมีไฟฟ้าสำรองในแบตเตอรี่อยู่ สามารถขับต่อไปได้ในช่วงสั้น ๆ ประมาณกว่า 5 กิโลเมตร และนี่ก็คือการใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มาใช้อย่างเดียวไ ม่มีการประจุไฟฟ้ากลับเข้าไป จึงควรปิดอุปกรณ์ที่ต้องใช้ไฟฟ้าลงทั้งหมด เช่น แอร์ เครื่องเสียง ฯลฯ เพื่อให้มีการ ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ช้าและน้อย ทำให้รถยนต์ยังแล่นต่อไปได้ระยะทางมากที่สุด ถ้าการจราจรไม่ติดขัดมาก และแบตเตอรี่ลูกใหญ่พอสมควร ส่วนใหญ่ไปได้เกิน 10 กิโลเมตร เพื่อนำรถยนต์ไปซ่อมแซมครับ






การเปลี่ยนแบตเตอรี่ไม่ใช่เรื่องยาก แต่การเปลี่ยนแบตเตอรี่ ก็ต้องมีวิธีการที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้การเสียหายเกิดขึ้น ข้อพึงระวังสำหรับการเปลี่ยนแบตเตอรี่เอง คือ

1. ต้องดับเครื่องก่อนเปลี่ยนแบตเตอรี่ทุกครั้ง (OFF)
2. ในการถอดแบตเตอรี่ ต้องถอดขั้วลบ (-) ออกก่อนเสมอ เพื่อป้องกัน การลัดวงจร
3. และเมื่อเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่เข้าไป ต้องใส่ขั้วบวก (+) ก่อนเสมอ
จำหลักง่ายๆ "ถอดลบ (-) ใส่บวก (+)" เสมอ เพื่อป้องกันการลัดวงจรและเกิดประกายไฟกับรถยนต์แสนร ักของคุณ






การดูแลแบตเตอรี่ ให้ถูกวิธีจะช่วยให้เราใช้งานแบตเตอรี่ได้คุ้มค่าที่ สุด ด้วยวิธีการง่ายๆ ดังนี้

1. ตรวจสอบสภาพของแบตเตอรี่เสมอ อย่าให้มีรอยแตกร้าว เพราะจะทำให้แบตเตอรี่ไม่เก็บประจุไฟฟ้า
2. ดูแลขั้วแบตเตอรี่ให้สะอาดเสมอ ถ้ามีคราบเกลือเกิดขึ้น ให้ทำความสะอาด
3. ตรวจสภาพของระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่ทุกๆ 1 สัปดาห์
4. ตรวจเช็กระบบไฟชาร์จของอัลเตอร์เนเตอร์ ว่าระบบไฟชาร์จต่ำหรือสูงไป ถ้าต่ำไป จะมีผลทำให้กำลังไฟไม่พอใช้ในขณะสตาร์ตเครื่องยนต์ หรือถ้าสูงไปจะทำให้ น้ำกรดและน้ำกลั่นอยู่ภายในระเหยเร็วหรือเดือดเร็วได ้ ในช่วงเวลาเดียวกัน
5. ช่วงที่มีอากาศหนาวหรืออุณหภูมิต่ำ ประสิทธิภาพการแพร่กระจาย ของน้ำกรด และน้ำกลั่นจะด้อยลง เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้กระแสไฟมากๆ ขณะอากาศเย็น
6. ควรศึกษาถึงการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ให้เหมาะสมกับแบตเตอรี่และไดชาร์จ เพื่อที่จะให้วงจรการไหลของไฟฟ้าเป็นไปด้วยดี
7. ควรเติมน้ำกลั่นให้ได้ตามระดับที่กำหนด ไม่ควรเติมต่ำหรือสูงเกินไป





เมื่อเราใช้แบตเตอรี่ไปได้สัก 1 ปีครึ่ง หรือ 2 ปี แบตเตอรี่จะเริ่มเสื่อมสภาพ
หากสังเกตดีๆ เมื่อแบตเตอรี่ใกล้เสื่อมสภาพจะมีสัญญาณเตือนดังนี้

1. เครื่องยนต์เริ่มสตาร์ทติดยาก
2. ไฟหน้าไม่ค่อยสว่าง
3. ระบบกระจกไฟฟ้าทำงานช้าลง
4. ระบบไฟฟ้าในรถทำงานผิดปรกติ

เมื่อมีสัญญาณเตือนดังนี้ ก็เข้าร้านที่ไว้ใจได้ เปลี่ยนแบตเตอรี่ได้เลยครับ






บางครั้ง หากมีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าในรถยนต์เพิ่ม แบตเตอรี่ก็ควรถูก
ปรับเปลี่ยนความจุให้มีมากขึ้นด้วย ซึ่งหากมีการติดตั้งแบตเตอรี่ใหม่ใน
ยานพาหนะ ควรปฏิบัติดังนี้

1. สังเกตว่าแบตเตอรี่ใหม่ ซึ่งจะใช้ติดรถ อยู่ในสภาพไฟเต็ม
2. ควรบันทึกวันที่เริ่มใช้แบตเตอรี่ใหม่ ไว้เพื่อการตรวจสอบสภาพ
เป็นช่วงๆ
3. ยึดแบตเตอรี่และแท่นวางแบตเตอรี่ให้แน่น ไม่เคลื่อนไหว
4. ถ้าแบตเตอรี่มีท่อยาวระบายอากาศ อย่าให้ท่อระบายอากาศถูกกดทับ
เพราะอาจทำให้แบตเตอรี่ระเบิดได้
5. ใส่ขั้วไฟก่อน (อาจเป็นขั้วบวกหรือขั้วลบก็แล้วแต่ชนิดของรถ) ก่อนใส่
ควรขยายขั้วสวมให้โตกว่าขั้วแบตเตอรี่เล็กน้อย ห้ามตอกขั้วต่ออัดลงไป
เพราะจะทำให้ขั้วแบตเตอรี่ทรุดตัว แบตเตอรี่อาจเสียหายได้


6. เมื่อต่อขั้วเรียบร้อย ทาขั้วด้วยจารบี หรือวาสลิน
7. ต่อขั้วดินเป็นอันดับสุดท้าย

จากนั้นก่อนสตาร์ทเครื่อง ก็ควรตรวจดูความถูกต้องในการต่อขั้วอีกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของรถยนต์และตัวคุณเองครับ






บางครั้งแบตเตอรี่รถยนต์ของเรา หรือรถยนต์คันอื่นๆ เกิดการไฟหมด
อาจจะต้องมีการต่อพ่วงกัน เราจึงจำเป็นจะต้องเรียนรู้การต่อพ่วงอย่าง
ถูกวิธีไว้บ้าง เริ่มจากจอดรถใกล้กันแต่อย่าให้สัมผัสกัน ใช้สายพ่วงที่ใหญ่
แต่ไม่ยาวเกินไป จากนั้นปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้

1. ต่อขั้วบวก (+) ของสายพ่วงเส้นที่ 1 เข้ากับขั้วบวก (+) ของแบตเตอรี่
ลูกที่ไฟหมด
2. ต่อขั้วอีกข้างหนึ่งของสายพ่วงเส้นที่ 1 เข้ากับขั้วบวก (+) ของแบตเตอรี่
ลูกที่ดี

3. ต่อขั้วลบ (-) ของสายพ่วงเส้นที่ 2 เข้ากับขั้วลบ (-) ของแบตเตอรี่ลูกที่ดี
4. ต่อขั้วอีกข้างหนึ่งของสายพ่วงเส้นที่ 2 เข้ากับโครงรถคันที่แบตเตอรี่ไฟหมด
5. เมื่อสตาร์ทรถยนต์คันที่ไฟหมด ติดแล้ว จึงค่อยถอดสายพ่วงแบตเตอรี่ทวนตามลำดับที่กล่าวมาข้า งต้น







การที่คุณจอดรถไว้โดยไม่ได้ใช้งานเกิน 2 สัปดาห์ จะมีผลกับแบตเตอรี่ของคุณ
แน่นอน เพราะแบตเตอรี่จะมีการคายประจุไฟออกมาตลอดเวลา ถ้าไม่มีการชาร์จ
ไฟเข้า แผ่นธาตุภายในจะเสื่อมสภาพ ไม่สามารถเก็บกระแสไฟฟ้าไว้ได้ แต่ถ้า
จำเป็นต้องจอดรถทิ้งไว้ควรเก็บรักษาแบตเตอรี่ เพื่อให้สามารถนำแบตเตอรี่กลับ
ไปใช้งานได้อีก ตามวิธีดังนี้ คือ

- การเก็บแบตเตอรี่แบบแห้ง (Dry Storage)

เป็นการเก็บแบตเตอรี่ไว้โดยไม่มีสารละลายอยู่ในแบตเต อรี่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเก็บ
แบตเตอรี่ที่ผลิตออกมาจากโรงงานใหม่ๆ เมื่อต้องการจะใช้งานก็จะนำแบตเตอรี่
ไปเติมสารละลายและประจุไฟฟ้าให้เต็ม แต่สำหรับแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วมีสารละลาย
อยู่ภายในแบตเตอรี่ การเก็บให้ถอดแบตเตอรี่ออกจากรถนำไปชาร์จไฟให้เต็มแล ้ว
เทน้ำยาทิ้ง ใช้น้ำกลั่นล้างแล้วเทคว่ำให้แห้ง เมื่อต้องการจะใช้แบตเตอรี่ก็นำไปเติม
น้ำยาและชาร์จไฟใหม่


- การเก็บแบตเตอรี่แบบเปียก (Wet Storage)

แบตเตอรี่ถึงแม้จะชาร์จไฟเต็มแล้ว ถ้าปล่อยทิ้งไว้ก็จะสามารถคายประจุไฟออกมาเอง ดังนั้นการเก็บแบตเตอรี่ในขณะที่แบตเตอรี่
มีน้ำกรดอยู่ภายใน ควรนำไปประจุไฟทุกๆ 15 วัน การเก็บแบตเตอรี่แบบนี้ถือว่าเป็นการจัดเก็บแบบชั่วค ราว เพื่อลดปัญหาแบตเตอรี่
เสื่อมสภาพ อย่าลืมเก็บแบตเตอรี่ให้ถูกวิธีนะครับ






หากแบตเตอรี่หมดสภาพ หรือจำเป็นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ และแบตเตอรี่
ลูกเดิมมีแอมป์ไม่สูงนัก ก็ควรเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้ลูกใหญ่ขึ้น แอมป์สูงขึ้น
ด้วยราคาที่สูงกว่ากันเพียงไม่กี่ร้อยบาท แต่จะทำให้รถยนต์ของคุณมีกำลังไฟฟ้า
สำรองมากขึ้น กำลังไฟฟ้าแรงขึ้น และทำให้ไดชาร์จทำงานหนักน้อยลง ทำให้
ไม่พังง่าย ฉะนั้นเมื่อแบตเตอรี่หมดสภาพหรือมีการติดตั้งอุปกรณ์ ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
ควรคำนึงถึงคำถามที่ว่า "เปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหญ่ แอมป์สูงดีไหม" นี้ด้วย
เพราะเสียเงินเพิ่มไม่กี่ร้อยบาท แต่ได้สิ่งที่คุ้มค่ากว่ากลับคืนมา





หากไดชาร์จปกติ แบตเตอรี่ไม่เสื่อม และไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มเติมจนกิน
กระแสไฟฟ้ามากเกินไปแบตเตอรี่จะไม่มีการหมด นอกจากในเครื่องยนต์รอบเดินเบา
ไดชาร์จผลิตไฟฟ้าได้น้อยกว่าการใช้อยู่มาก และจอดนิ่งนานหลายชั่วโมง แบตเตอรี่
ี่อาจหมดได้ ซึ่งไม่ค่อยพบปัญหานี้ในการใช้งานบนสภาพจราจรปกติ เพราะในการใช้
รถยนต์ เมื่อมีการใช้ไฟฟ้าจากหลายอุปกรณ์ เช่น เครื่องยนต์ แอร์ เครื่องเสียง ไฟส่อง
สว่าง ฯลฯ ก็จะมีไดชาร์จคอยส่งไฟฟ้าที่เหลือจากการใช้คืนกลับเข ้าไปสู่แบตเตอรี่
อยู่ตลอด หากแบตเตอรี่หมด เพราะไดชาร์จผิดปกติ คือผลิตไฟฟ้าไม่เพียงพอ แต่
แบตเตอรี่ ยังไม่หมดสภาพจะมีการดึงไฟฟ้าออกจากแบตเตอรี่ไปใช้เร ื่อยๆ ก็แค่
ซ่อมแซมระบบไดชาร์จให้เป็นปกติ ใช้เครื่องประจุแบตเตอรี่ให้เต็ม หรือทำให้
เครื่องยนต์ติดแล้วให้ไดชาร์จประจุไฟฟ้าเข้าสู่แบตเต อรี่ก็สามารถใช้งานได้ตามปกติ
หลังจอดรถยนต์ไว้ ถ้าแบตเตอรี่หมดหรือกระแสไฟฟ้าอ่อนลงมากจนไดสตาร์ตหม ุน
เครื่องยนต์ไม่ไหว ขณะที่ระบบไดชาร์จและเครื่องยนต์ปกติ แสดงว่าแบตเตอรี่
หมดสภาพ ก็ถึงคราวจะต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่กันแล้วคราวนี้





การดูแลรักษาแบตเตอรี่ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าของรถ ยนต์ให้ใช้งานได้นานนั้น
ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่คุณตรวจเช็กระดับน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ทุกสัปด าห์ โดยเติม
น้ำกลั่นให้ปริมาณได้ระดับอยู่เสมอ หากถ้าแบตเตอรี่ของคุณเป็นแบบที่มีผิวด้าน
ข้างใส ก็สามารถส่องดูจากด้านข้างแบตเตอรี่ได้ แต่ถ้าแบตเตอรี่เป็นแบบผิวทึบ
หรือมองจากทางด้านข้างของแบตเตอรี่ไม่สะดวก ก็ให้เติมน้ำกลั่นให้ท่วมแถบ
แผ่นธาตุไว้ประมาณ 1 เซนติเมตร

ไม่ควรใช้น้ำกรองหรือใช้น้ำที่ไม่ใช่น้ำกลั่นเติมแบต เตอรี่โดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานสั้นลง
AEK_Korat is offline   ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
The Following 5 Users Say Thank You to AEK_Korat For This Useful Post:
Dittapong (21-10-2009), Lucky (03-06-2011), pipermann (15-11-2009), printset (27-09-2016), tatizoodlor (31-07-2013)