ดูแบบคำตอบเดียว
เก่า 30-11-2011, 11:09   #1
manny
Junior Member
 
วันที่สมัคร: Apr 2009
Car Brand: Benz W124 E280/toyota
Engine Type: M104/3s
ที่อยู่: samudprakhan
กระทู้: 10
Thanks: 1
Thanked 14 Times in 3 Posts
คะแนน: 0 manny is on a distinguished road
diy.. digital error code reader ใช้งานดี เลยต่อยอด.. ครับ

digital error code reader

ใช้งานสะดวกขึ้นมาก ไม่ต้องมาคอย พะวงกับการต้องคอยนับจำนวนของหลอดกระพริบ ใช้งานง่ายมาก


ตัวอ่านโค๊ด แบบตัวเลข ใช้งานได้ทั้ง โตต้า และ เล็กซัส

ทำใช้งาน ในกลุ่ม เล็กๆ ใช้งานใช้ดี เลยปรับปรุงรุปแบบ วงจร เพิ่มออบชั่น


มานำเสนอให้สมาชิก ดูกันครับ

ยังไม่มีสิทธิ ในหน้า ซื้อ ขาย รอเป้นสมาชิกสี อยุ่ครับ

ดุเล่นๆในนี้ไปก่อน รอ สิทธิ หน้า ซื้อ ขาย อีกทีครับ
[IMG][/IMG]


ลิงค์ คลิบการใช้งานจริง ๆครับ

http://www.youtube.com/watch?v=FuX8Y...der&playnext=3
รหัส 01 คือ ระบบปกติ



http://www.youtube.com/watch?v=9AnKMHkxOes
รหัส 09 -- ปัญหาที่ speed sensor




การใช้งาน เครื่องอ่าน และการลบโค๊ดแบบตัวเลข สำหรับรถยนต์เล็กซัส และรถยนต์โตโยต้า



ส่วนประกอบของตัวเครื่อง

1 ตัวเลขติจิตอลแสดงผล 2 หลัก

แสดงผลเป็นหมายเลข ของรหัสผิดพลาด โดยแสดงผลได้ 2 แบบ ตามที่ทางบริษัทรถได้ออกแบบไว้


1.1 แสดงผลเป็นหมายเลข 2 หลักในหนึ่งรหัสเออเรอร์ เช่น รหัส 12 รหัส 23 .... ( โดยมี การบอกตัวคั่นระหว่างตัวเลขทั้งสองหลักด้วยหลอดไฟกระ พริบหลอดที่ 2 )

1.2 แสดงผลเป็น 1 หลัก แต่จะนับตั้งแต่ 1 หลัก ทบเป็น 2 หลักต่อเนื่องกันไป เช่น รหัส 09 รหัส 10 รหัส 15 ....

2. หลอดไฟแอลอีดี แสดงผล 4 หลอด

2.1 หลอดที่ 1 จะกระพริบเป็นจังหวะไปพร้อมกับการนับแต่ละครั้ง

2.2 หลอดที่ 2 จะเตือนบอกว่าต่อไปจะเป็นการนับของตัวเลขหลักที่ 2 ( ในการแสดงผล แบบที่ 1.1 )

2.3 หลอดที่ 3 จะเตือนบอกว่า ต่อไปจะเป็นรหัสเออเรอร์ รหัสต่อไป ( ทั้งการแสดงผล แบบที่ 1.1 และแบบ 1.2 )

2.4 หลอดที่ 4 จะเตือนบอกว่า เครื่องได้นับเออเรอร์ทั้งหมดที่มีครบแล้ว และจะวนไปนับ เออเรอร์ชุดแรกใหม่ วนไปเรื่อยๆ ตลอดเวลาที่ยังทำการเช็คเออเรอร์โค๊ดอยู่ ( ทั้งการแสดงผล แบบที่ 1.1 และ แบบ 1.2 )


3. Buzzer
เสียงเตือน ช่วยเสริมในการใช้งาน

3.1 เสียงเตือนของบัซเซอร์ จะดังขึ้นในช่วงของการ เปลี่ยนไปนับรหัสตัวที่ 2 ของในแต่ละรหัส ( ในการแสดงผล แบบที่ 1.1 )

3.2 เสียงเตือนของบัซเซอร์ จะดังขึ้นในช่วงของการ เปลี่ยนไปนับรหัสตัวต่อไป( ทั้งการแสดงผล แบบที่ 1.1 และแบบ 1.2 )

4. สายไฟ 3 เส้น สำหรับนำไปต่อกับขั้วทดสอบในห้องเครื่องยนต์

การใช้งาน

แบบที่ 1 นำตัวเครื่องไปติดตั้งถาวรบริเวณหน้าคอนโซล โดยการ เดินสายไฟมาจากขั้ว ทดสอบในห้องเครื่องยนต์

* สายสีดำต่อไปยังกราวด์
* สายสีแดงต่อไปยังไฟบวกผ่านสวิทช์กุญแจ
* สายสีฟ้าต่อไปยังช่องเสียบ W หรือ WB หรือขั้วไฟเอนจิน บริเวณ หน้ากล่อง หรือ ขั้วทดสอบในห้องเครื่อง
* เดินสายไฟ 2 เส้น ไปที่สวิทช์ หน้าคอนโซน ใช้สวิทช์ตัวนี้ ปิดเปิดแทนการจั๊มสายไฟระหว่งา ขั้ว TE 1 และ ขั้ว E1
* เมื่อจะใช้งาน ให้บิดสวิทช์กุญแจไปที่ออน แต่ไม่ต้องสตาร์ทเครื่องยนต์ แล้วโยกสวิทช์สำหรับแทนการจั๊มสายไปตำแหน่ง ออน
* อ่านรหัสเออเรอร์ นำไปดูเทียบจากตารางเออเรอร์


แบบที่ 2 ใช้งานแบบเป็นเครื่องมือวัด เสียบสายของตัวเครื่อง เข้ากับขั้วทดสอบในห้องเครื่อง

* สายสีดำเสียบช่องกราวด์
* สายสีแดงเสียบช่องไฟบวก B+
* สายสีฟ้าเสียบช่อง W หรือ WB หรือขั้วไฟเอนจิน
* จั๊มสายไฟระหว่าง ขั้ว TE 1 และ ขั้ว E1
* บิดสวิทช์กุญแจไปที่ออน แต่ไม่ต้องสตาร์ทเครื่องยนต์
* อ่านรหัสเออเรอร์ นำไปดูเทียบจากตารางเออเรอร์


**** ถ้าระบบปกติ จะแสดงผลเป็นตัวเลข 01 ( ในการแสดงผล แบบที่ 1.2 )
และ จะนับ 00 – 99 วน ไปตลอดเวลาที่ยังทำการเช็ค ( ในการแสดงผล แบบที่ 1.1 ) ****



วิธีการเคลียร์รหัสผิดพลาด

หลังจากที่ได้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับรถออกไปแล้วต้ องการเคลียร์รหัสออกไป ทำดังนี้

1. บิดสวิทช์กุญแจไปที่ตำแหน่งออน แต่ไม่ต้องสตาร์ทรถ ถอดฟิวส์ EFI ในกล่องฟิวส์ ออก ประมาณ 30 วินาที เป็นรีเซ็ทกล่องและเคลียร์เออเรอร์ แล้วเสียบฟิวส์กลับที่เดิม

2. ระยะเวลา การที่ถอดฟิวส์อาจจะเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิห้องเครื่ อง ความรัอนห้องเครื่องสูงจะใช้เวลานานกว่าห้องเครื่องเ ย็นกว่า


การใช้งานจริง ใช้ง่าย ไม่ยากครับ
manny is offline   ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
The Following 4 Users Say Thank You to manny For This Useful Post:
idea_nova (01-12-2011), maxza1988 (01-12-2011), tfr_jz (27-03-2012), udomsakdwg (07-12-2011)