ดูแบบคำตอบเดียว
เก่า 05-02-2013, 01:57   #1
anankhet
ClubJZ Full Member 2556
 
รูปส่วนตัว anankhet
 
วันที่สมัคร: May 2008
Car Brand: Isuzu D-Max LS Cab4 2003
Engine Type: 1UZ-FE 1996
ที่อยู่: Samutprakarn
กระทู้: 387
Thanks: 48
Thanked 771 Times in 278 Posts
คะแนน: 17 anankhet is on a distinguished road
วิธีการเช็คไฟรั่วในรถยนต์ครับ

ไฟรั่วในรถยนต์ มักจะมีอาการดังนี้

จอดรถนานเกิน 2 วันไม่ได้ สตาร์ทรถไม่ติด มีเสียงเหมือนไฟอ่อน ทำให้รู้ว่า แบตเตอรรี่ไม่มีไฟเหมือนไฟหมด ทั้งๆที่แบตเตอรรี่ไม่ได้เสื่อม แบตเตอรรี่ยังใหม่ๆไปลองวัดกำลังไดชาร์ท ก็เป็นปกติ แสดงว่าอาจจะมีไฟรั่วลงกรานด์อยู่หรือเปล่า เพราะอะไรทำไมถึงรู้น่ะหรอครับเพราะว่าหากลองถอดขั้ว ลบของแบตเตอรรี่ออก ทุกๆคืน เช้ามาจะสามารถสตาร์ทรถได้เป็นปกติ อาการนี้รวมถึงจอดที่ทำงานด้วยนะครับ

เอวังก็มีด้วยประการระชะนี้คราบ....ผิดพลาดประการไดก ็ขออภัยมานะที่นี้ด้วยนะครับ
อาการไฟรั่วอาจสังเกตได้ง่ายๆ จากการลองเอาขั้วแบตถอดออกมาแล้ว เวลากลับมาใส่หากมาแตะๆ ตรงขั้วลบดู
ถ้าหากมีประกายไฟสปาร์คเล้กน้อยอาจเปนเพราะไฟนาฬิกาข องรถยนต์เรา แต่ถ้าสปาร์คแรงมีประกายไฟแสดงว่าอาจมีรั่วแน่ๆ
ถ้าหากจะให้แน่ใจไปกว่านั้น และตามหาจุดรั่วง่ายๆ ให้ทำตามวิธีการดังนี้

1. ให้เราปิด สวิทช์กุญแจ รวมถึงปิดประตูรถทุกบาน และปิดไฟภายในเก๋งให้หมด
2. ทำการถอดขั้วลบแบตเตอรรี่ออก คราวนี้จะมีขั้วลบของแบตเตอรรี่ และสายขิงขั้วลบที่แยกออกจากกันแล้ว
3. นำสายขั้วลบ แตะกับสายของขั้วลบของหลอดไฟขนาด 12 โวลท์ ค้างเอาไว้ โดยใช้หลอดไฟแบบไส้ ควรใช้หลอดประมาณ 7 วัตต์ หรือใช้ไฟหรี่หรือไฟเพดานก็ได้ หากเป็นหลอดวัตต์สูง จะไม่ติดและไม่เหมาะ เพราะถ้ารั่วน้อยๆจะดูไม่ออก หรือไขควงวัดไฟรถยนต์
4. นำสายขั้วบวกของหลอดไฟ หรือเอาปลายไขควงวัดไฟแตะที่ขั้วลบของตัวแบตเตอรรี่
5. สังเกตไฟที่หลอดไฟ หรือที่ไขควงวัดไฟว่า มีความสว่างมากน้อยเพียงใด (ปกติจะสว่างเล็กน้อย)
6. ปล่อยหลอดไฟ หรือไขควงไว้ในสภาพที่ไฟยังสว่างอย่างนั้น
7. เลือกถอดฟิวส์ที่กล่องฟิวส์ ทีละตัวไปเรื่อยๆ เช่น เครื่องเสียง ไฟหน้า ไฟเลี้ยว แตร ฯลฯ หากถอดตัวไหนออกไปแล้ว พบว่าไฟที่หลอดไฟทดสอบของเราสว่างน้อยลงแสดงว่า อุปกรณ์ของฟิวส์ตัวนั้นๆมีกระแสไฟเข้าตลอดเวลา นั่นคือไฟรั่วแล้วนั่นเอง
8. ทำการตรวจเช็คสายไฟทั้งหมดของอุปกรณ์นั้นๆ ต่อไปเพื่อหาจุดไฟรั่ว
หากจะให้แน่ใจมากไปกว่านี้อีก สามา รถทำได้เช่นเดิมแต่แทนที่เราจะใช้หลอดไฟให้เราใช้ แอมป์มิเตอร์ต่ออนุกรมเข้าไปแทนที่ ซึ่งปกติรถจะกินไฟประมาณ 0.5 มิิลลิแอมป์ แต่หากเข็มไฟแตะระดับเกินกว่านี้อาจบ่งชี้ว่ามีไฟรั่ ว หรือมีอุปกรณ์กินไฟเงียบๆขณะเรารถดับเครื่องยนต์ไปแล ้ว

วิธีนี้จะดีกว่าตรงที่เห็นปริมาณของกระแสไฟเลยว่าไหล อยู่ในระบบกี่มิลลิแอมป์ ระหว่างที่ใช้แอมป์มิเตอร์ ห้ามเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าใดๆในรถ หรือแม้แต่บิดกุญแจ ON เพราะกระแสจำนวนมากจะวิ่งผ่านมิเตอร์ อาจทำให้เสียหายได้ ให้สังเกตว่าแอมป์มิเตอร์ลดลงที่จุดตรวจใด จุดนั้นคือจุดปัญหา

โดยหากไล่ถอดฟิวส์แล้วยังเฉย หากไม่เจอคราวนี้ต้องไล่กันไปตามอาการ ดังนี้

1. จุดที่เคยชนมาเช่นไฟท้าย จะรั่วบ่อยเพราะหากช่างไม่ใช้ท่อย่น แต่ใช้เทปพันสายไฟ ต่อพบอากาศร้อนกาวหมดอายุเปื่อยเยิ้มกาวหมดสภาพ ทำให้ไฟรั่วเมื่อไปแตะตัวถัง
2. เครื่องเสียง แอมป์ ฯลฯ เพราะเทปพันสายไฟไม่ได้คุณภาพอีกตามเคย
3. เปิดสวิทช์บางอย่างทิ้งเอาไว้ เช่นสวิทช์ไล่ฝ้า ฯลฯ หรือ อุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น ระบบกันขโมย ว่ามีการปิด/เปิด บ่อยแค่ไหน เครื่องเสียงและอุปกรณ์บางชนิด การชาร์ตมือถือในรถ ฯลฯ
4. รีเลย์ต่างๆ เพราะหน้าคอนแทกต์ของรีเลย์ค้าง ทำให้ไฟไปเลี้ยงอุปกรณ์นั้นๆ ตลอดเวลา เช่น รีเลย์ของ กล่องเกียร์ รีเลย์ที่เราติดตั้งเพิ่มเติม

แถมการเช็ครีเลย์คอมแอร์

สำหรับรีเลย์คอมแอร์นั้น มีวิธีตรวจเช็คง่าย ๆ ด้วยการจอดรถอยู่กับที่ ลองเปิดสวิทช์แอร์ โดยไม่ต้องสตาร์ทเครื่องยนต์ กดปุ่มทำความเย็น (A/C) ถ้าหากรีเลย์ปกติ เราจะได้ยินเสียงรีเลย์ ดัง "แชะ" และเมื่อกดปุ่มปิดสวิทช์ทำความเย็น (A/C) ก็อีกครั้งจะได้ยินเสียงอีกนั้นเอง แสดงว่า รีเลย์ทำงานเป็นปกติ สามารถตัดต่อไฟได้ แต่ถ้าทำตามนี้แล้ว ไม่ได้ยินเสียงใดๆเลย แสดงว่า รีเลย์นั้น "ทำงานตลอดเวลา" จึงมีผลทำให้เมื่อถอดกุญแจรถดับเครื่องออกไปแล้ว รีเลย์คอมแอร์ ก็ยังคงส่งไฟไปเลี้ยงคอมแอร์ โดยระบบกลับทำงานกินไฟแบตเตอรรี่ตลอดเวลา

credit : http://www.cb3thailand.com
anankhet is offline   ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
The Following 16 Users Say Thank You to anankhet For This Useful Post:
Apple JZ Power (05-02-2013), C220 (08-02-2013), civil van (05-02-2013), E34@1UZFE (07-08-2013), joeyb870 (05-02-2013), kkk (05-02-2013), kkk777 (17-02-2013), M16_Vn (06-02-2013), pakapao (05-02-2013), phaecharoen (05-02-2013), Rossoneri~* (26-09-2013), tantan (17-02-2013), vtp24 (13-02-2013), ZEEuz (18-02-2013), น้องหมูพีร์ V8 (05-02-2013), ลุงเหน่ง (17-02-2013)