ดูแบบคำตอบเดียว
เก่า 07-08-2009, 11:02   #206
Moonlight
Super Moderator
 
รูปส่วนตัว Moonlight
 
วันที่สมัคร: Oct 2006
Car Brand: My Brand
Engine Type: 2JZ-GE VVT-i A/T
ที่อยู่: กรุงเทพฯ
กระทู้: 1,768
Thanks: 633
Thanked 8,042 Times in 1,296 Posts
คะแนน: 19 Moonlight is on a distinguished road
ส่งข้อความผ่าน MSN ถึง Moonlight
อ้างถึง:
กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ bokyod อ่านกระทู้
สวัสดีคับๆ
รถผมแอร์ไม่่ค่อยเย็นเลยคับๆ
สตาร์ดตอนเช้าเย็นคับๆ จอดในโรงรถ
พอ ออกข้างนอกไม่เย็นขึ้นมาทันทีเลยๆ
ไปล้างตู้แอร์มาหนึ่งครั้ง หลังจากไปวางเครื่องมา
ดูที่ตัว เช็คน้ำยาแอร์ๆ เป็น ฟองๆๆ เต็มๆเลย
ตอนล้างช่างบอกว่า ฟองๆๆ เนี่ยแหละ เย็นๆ
เหอๆ ๆ ไม่รู้จาทำไงคับๆ ร้อนๆๆ
จากที่เล่ามานั้น เรียกว่า อาการแอร์ทำความเย็นไม่สู้แดด ส่วนใหญ่เนื่องมาจาก น้ำยาแอร์น้อยเกินไปครับ

จากที่บอกว่า มองเห็น ฟองมากมายวิ่งไปมา ซึ่งสิ่งที่เรามองอยู่นั้น เรียกว่าน้ำยาแอร์ครับ ซึ่งเป็นสารความเย็น ที่ส่งมาจาก คอนเดนเซอร์ (คอยล์ร้อน) ผ่านเข้า รีซีฟเวอร์ดรายเออร์ (Receiver Dryer หรือ Dehydrator) ซึ่งคนไทยเรียกกันสั้นๆว่า แอร์ดรายเออร์ ซึ่งทำหน้าที่ พักสารความเย็นแล้วดูดรับความชื้น หลังจากดูดความชื้นแล้ว สารความเย็นนี้ ก็จะถูกส่งต่อไปเข้า (จุดนี้เอง ที่จะมีกระจกให้มองดูสารความเย็น (น้ำยาแอร์) ว่าเต็มมาก, เต็มพอดี, น้อย, น้อยมาก หรือ ไม่มีเลย) เอ๊กซ์แพนชั่นวาล์ว แล้วเข้า อีวาพอเรเตอร์ (คอยล์เย็น)

การมองกระจก ดูลักษณะ สารความเย็น แล้วแปลความหมาย ออกมาดังนี้

  • เต็มมาก จะเห็นน้ำยา แต่ว่า ไม่มีฟองอากาศ หรือ แทบไม่มีฟอง ผลกระทบที่เกิด จะทำให้ คอมเพรสเซอร์แอร์ ทำงานหนัก แต่กลับทำความเย็นไม่ดี (ไม่สู้แดด)
  • เต็มพอดี จะเห็นน้ำยา โดยมีฟองอากาศอยู่ 2 - 3 ฟอง วิ่งไปมา และเวลาคอมเพรสเซอร์หยุดทำงาน จะเห็นฟองอากาศเล็กๆผุดขึ้นลงเต็มไปหมด ก่อนที่จะหายไปครับ ผลกระทบที่เกิด จะทำให้ ระบบการทำความเย็นดี ไม่กินกำลังคอมเพรสเซอร์ ปรับควบคุมอุณหภูมิในห้องโดยสารได้ดี
  • น้อย จะเห็นน้ำยา โดยมีฟองอากาศอยู่ มากกว่า 5 - 6 ฟอง วิ่งไปมา และเวลาคอมเพรสเซอร์หยุดทำงาน จะเห็นฟองอากาศเล็กๆผุดขึ้นลงเต็มไปหมด ก่อนที่จะหายไปครับ ผลกระทบที่เกิด จะทำให้ ระบบการทำความเย็นไม่ค่อยดีดี กินกำลังคอมเพรสเซอร์มากหน่อย ปรับควบคุมอุณหภูมิในห้องโดยสารไม่ค่อยได้ได้ดีนัก
  • น้อยมาก จะเห็นน้ำยา โดยมีฟองอากาศเล็กๆเต็มไปหมด วิ่งไปมา และเวลาคอมเพรสเซอร์หยุดทำงาน จะเห็นฟองอากาศเล็กๆผุดขึ้นลงเต็มไปหมด ก่อนที่จะหายไปครับ ผลกระทบที่เกิด จะทำให้ ระบบการทำความเย็นไม่ดี กินกำลังคอมเพรสเซอร์มาก ปรับควบคุมอุณหภูมิในห้องโดยสารไม่ได้เลย อาการคล้ายๆกับ สารความเย็นเต็มมาก คือ ไม่สู้แดด
  • ไม่มีเลย จะมองไม่เห็นน้ำยาในช่องกระจกเลย ผลกระทบที่เกิด จะทำให้ คอมเพรสเซอร์แอร์ ทำงานหนักมากๆ จนกระทั่งคอมเพรสเซอร์น๊อคพังได้ ไม่มีความเย็นในห้องโดยสารเลย
ให้สังเกตุ สารความเย็น เต็มมาก และ สารความเย็น น้อยมาก จะเกิดผลกระทบจากการให้ความเย็นคล้ายกันมาก ให้สังเกตุจาก กระจกมองน้ำยาที่ รีซีฟเวอร์ดรายเออร์ ครับ ว่า เป็นผลมาจาก สารความเย็น เต็มมากเกินไป หรือว่า สารความเย็นน้อยเกินไป ครับ

การทำงานของระบบแอร์คอนดิชั่นในรถยนต์ จะแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง นั่นคือ ฝั่งแรงดันน้ำยาต่ำ และฝั่งแรงดันน้ำยาสูง

  • ฝั่งแรงดันน้ำยาต่ำคือ นับตั้งแต่ ทางออกของ เอ๊กซ์แพนชั่นวาล์ว ซึ่งแปลงน้ำยาแอร์ (สารความเย็น) เป็นไอระเหย ผ่านเข้า คอยล์เย็น (อีวาเพอเรเตอร์) โดยมีพัดลมโบล์วเออร์ เป่าความเย็นจุดนี้ ออกมาทางท่อลมเข้าห้องโดยสาร ส่วนน้ำยาที่เป็นไอระเหยนั้น จะดูดซับความร้อนในห้องโดยสาร แล้วถูกดูเข้า คอมเพรสเซอร์แอร์ นี่คือ ฝั่งแรงดันน้ำยาต่ำ
  • ฝั่งแรงดันน้ำยาสูงคือ น้ำยาสารความเย็นที่ถูกคอมเพรสเซอร์แอร์ ดูดอัดอย่างเร็ว (ยังเป็นสารระเหยอยู่) ส่งเข้า คอยล์ร้อน (คอนเดนเซอร์) ที่มีครีบระบายความร้อน ทั้งถูกอัดเข้าไประบายความร้อนเข้าที่พักดูดความชื้น (รีซีฟเวอร์ดรายเออร์) จนเป็นสารความเย็นเหลว ส่งไปเข้า เอ็กซ์แพนชั่นวาล์ว

อาการของรถคุณ เป็นอาการของ สารความเย็น น้อยมากเกินไป เนื่องจากการรั่ว ทางฝั่ง แรงดันน้ำยาต่ำ ซึ่งถ้ามีการตรวจเช็คการรั่วและทำการทำไม่ให้เกิดการ รั่วแล้ว เติมน้ำยาสารความเย็นเข้าไป (น้ำยาแอร์) ก็จะทำให้ ระบบแอร์ทำงานได้ดีเช่นเดิมครับ ก็จะเข้าสู่ระบบ น้ำยาเต็มพอดี ครับ

ทำไมผมจึงระบุว่า เกิดการรั่วของฝั่งแรงดันน้ำยาต่ำ เพราะว่า ถ้าเกิดการรั่วทางฝั่งแรงดันน้ำยาสูง น้ำยาจะถูกขับดันออกมาจนหมดเกลี้ยงในชั่วเวลาไม่นานเ ลยครับ และไม่สามารถ มองเห็นน้ำยาในกระจกได้เลย ส่วนการรั่วทางฝั่งแรงดันต่ำนั้น พอแรงดันถูกลดลงระดับหนึ่ง จะรั่วซึมออกมาน้อยมากแล้ว เพราะว่าแรงดันให้รั่วไม่พอครับ จึงทำให้น้ำยาสารความเย็นคงอยู่ระดับหนึ่งเป็นเวลานา น แต่ถ้าไม่มีการทำการอุดจุดรั่ว น้ำยาแอร์ก็จะค่อยๆหมดไป คอมเพรสเซอร์แอร์ก็จะ น็อคพังไปด้วยเพราะว่า น้ำมันหล่อลื่น ถูกสารความเย็นนำพารั่วออกมาด้วยครับ เมื่อน้ำมันหล่อลื่นน้อยจนเกือบหมด คอมเพรสเซอร์ก็จะน็อค ครับ ดังนั้น ขณะทีี่ สารความเย็นเหลือน้อย สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องปิดระบบทำความเย็นก่อน แล้วเช็คหาจุดรั่ว แก้ไขแล้ว เติมน้ำมันคอมพ์และน้ำยาสารความเย็น จนเต็มพอดี จึงนำมาใช้ต่อได้ครับ
__________________
JZM - 5
Moonlight is offline   ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
The Following 2 Users Say Thank You to Moonlight For This Useful Post:
chuchat (18-07-2016), printset (09-09-2016)