ดูแบบคำตอบเดียว
เก่า 09-03-2008, 17:20   #2
Moonlight
Super Moderator
 
รูปส่วนตัว Moonlight
 
วันที่สมัคร: Oct 2006
Car Brand: My Brand
Engine Type: 2JZ-GE VVT-i A/T
ที่อยู่: กรุงเทพฯ
กระทู้: 1,768
Thanks: 633
Thanked 8,042 Times in 1,296 Posts
คะแนน: 19 Moonlight is on a distinguished road
ส่งข้อความผ่าน MSN ถึง Moonlight
อ้างถึง:
กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ toomiceman อ่านกระทู้
ผมใช้พัดลมไฟฟ้า แบบดูด2ตัว ปรกติใช้ตัวเดียว อีกตัวเป็นของแอร์ แอร์จะปิดหรือเปิด ความร้อนก็ขึ้น 90 คงที่ ที่นี้ผมอยากจะให้ความร้อนมันลดลงหน่อยก็เลย เอาพัดลมแอร์มาต่อให้มันทำงานตลอดเลย ที่ผมอยากจะถามก็คือ ทำไมความร้อนมันไม่ลดลงเลย ตัวเดียวก็เท่าเดิม 2ตัวก็เท่าเดิม
มันอาจเป็นที่วาล์วน้ำได้รึเปล่าครับ

ขอถามอีกนิดครับ ปรกติความร้อนน้ำมันเครื่องควรอยู่ที่เท่าไหร่ ตอนขับปรกติกับซัด

ขอบคุณครับ
ปกติคนชอบเข้าใจผิดว่า เครื่องต้องเย็นจึงวิ่งได้ดีขึ้น อยากให้ระดับความร้อนต่ำๆ ซึ่งเป็นการเข้าใจผิดครับ

ผมขอเปรียบง่ายๆ กับร่างกายมนุษย์นะครับ คนเราเวลาจะออกกำลังกาย ต้องวอร์มอัพก่อน ถึงแม้เวลาวอร์มอัพแล้ว ก็ใช่ว่าจะออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาได้คล่องตัวที่สุด จริงๆแล้วต้องให้ร่างกายร้อนได้ระดับหนึ่ง จะทำให้เราคล่องตัวที่สุด แต่ร้อนระดับนั้น เราจะต้องเสียเหงื่อมาก จึงต้องได้น้ำมาช่วยชดเชยน้ำในร่างกายที่เสียไป และช่วยลดระดับความร้อนที่จะมากเกินไป

เครื่องยนต์ก็เช่นเดียวกันครับ เครื่องยนต์ต้องการความร้อนที่คงที่ครับ อยู่ที่ระดับ 87-90 องศาเซลเซียสครับ จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้ดีที่สุด ถ้าต่ำกว่านี้ก็ไม่ดีครับ แต่ถ้าสูงกว่านี้ เครื่องก็พังได้ครับ จึงต้องมีหม้อน้ำมาช่วยระบายความร้อนครับ โดยมีวาล์วน้ำ เป็นตัวกักน้ำให้อยู่ในอุณหภูมิที่คงที่ หมายถึงว่า 87 - 90 องศา วาล์วจะเปิดให้น้ำร้อนระบายออกเข้าหม้อน้ำ แล้ว น้ำที่มีความเย็นในหม้อน้ำจะไหลเข้าเครื่องเพื่อระบา ยความร้อนของเครื่อง ถ้าความร้อนลดลงต่ำกว่าระดับ 87 องศา วาล์วน้ำก็จะปิดกักน้ำเอาไว้ครับ (จริงๆแล้วยังมีน้ำมันเครื่องอีกตัวหนึ่งที่นอกจากช่ว ยหล่อลืนแล้ว ก็เป็นตัวช่วยระบายความร้อนเช่นกันครับ)

คราวนี้มาถึงคำถามที่คุณเจ้าของกระทู้ถามแล้วครับว่า ทำไมเปิดพัดลมหลายตัวแล้ว ความร้อนของเครื่องจึงไม่ลดลง คำตอบก็คือว่า วาล์วน้ำเป็นตัวกักน้ำเอาไว้ จนกว่าความร้อนเกินระดับจึงจะมีการระบายออกครับ

สมัยก่อนนี้ มีช่างไทยชาวบ้านบางคน เข้าใจผิดคิดว่าวาล์วน้ำไม่มีประโยชน์อะไร จึงเอาออก เพื่อให้ระบบไหลเวียนของน้ำดีขึ้น จริงๆแล้วเป็นการเข้าใจผิดครับ ดังที่อธิบายไว้เบื้องต้น ผลเสียของการเอาวาล์วน้ำออก ก็คือว่า ทำให้เครื่องยนต์ ร้อนช้า (ตอนเครื่องเย็น) แหวนลูกสูบขยายตัวยังไม่ได้เต็มที่ จะกินน้ำมันเครื่อง และกำลังเครื่องตกลงด้วยครับ และมีโอกาสทำให้เครื่องสึกหรอง่าย เพราะว่าคนขับจะเหยียบเร่งกำลังเครื่องขึ้น ทั้งๆที่ เครื่องไม่พร้อม เป็นการกินน้ำมันด้วยครับ


อ้างถึง:
กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ เอกชาติ อ่านกระทู้
แล้วไม่ควรร้อนเกินเท่าไหร่..ครับ..จะด้ายระวัง"""
บอกเป็นตัวเลขตายตัวลำบากครับ เอาเป็นว่า เมื่อไหร่ที่เข็มความร้อนขึ้นสูงกว่าปกติ อย่างไม่มีเหตุผล
ควรพึงระวัง โดยชะลอรถ หยุดข้างทาง (ไม่ใช่ดับเครื่องนะครับ) ดูอาการความร้อนให้ค่อยๆลดอุณหภูมิลง ระหว่างรอก็พยายามหาสาเหตุไปด้วย (มองเฉยๆ มืออย่าไปแตะส่วนที่เครื่องยนต์หรือระบบหม้อน้ำ เพราะว่าร้อนจัด) พอเครื่องลดอุณหภูมิที่สูงกว่าปกติลงแล้วค่อยดับเครื ่อง แก้ไขในส่วนที่เป็นสาเหตุของการเกิดอาการร้อนผิดปกติ ครับ จากนั้นค่อยวิ่งรถต่อครับ

สาเหตุสามัญที่ทำให้เกิดความร้อนขึ้นสูงผิดปกติ

  1. เกิดการผิดปกติของวาล์วน้ำ เช่นค้าง หรือไม่ยอมเปิด
  2. น้ำในหม้อน้ำมีไม่พอ ระบายความร้อนครับ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการรั่วของท่อยางที่เสื่อมคุณภ าพ หรือรั่วตามข้อต่อ หรือรั่วที่หม้อน้ำเอง หรือฝาหม้อน้ำชำรุด หรือรั่วที่ตัวเครื่องยนต์
  3. หม้อน้ำตัน ทำให้การระบายน้ำระบายความร้อนไม่ดีพอครับ
  4. พัดลมระบายความร้อนที่หม้อน้ำ ชำรุด เช่น พัดลมไฟฟ้าไม่หมุนหรือหมุนเบา หรือน้ำมันฟรีปั๊มหมดทำให้พัดลมหมุนช้าหรือไม่หมุน
  5. ฝาหม้อน้ำชำรุด ฝาหม้อน้ำจะมีสปริงวาล์วอยู่ภายในคอยปรับแรงดันน้ำให ้ระบายออกไปถ้าเกิดความร้อนจัด (ความร้อนจัดแรงดันน้ำจะสูงขึ้นเรื่อยๆ)
  6. หม้อน้ำไม่ได้สัดส่วนเหมาะสมกับเครื่องยนต์ ส่วนใหญ่เกิดกับคนที่ดัดแปลงเปลี่ยนขนาดของเครื่องยน ต์ โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับระบบระบายความร้อน
  7. เหตุผลต่อเนื่องจากข้อ 6 คือว่า ขับรถใช้งานเครื่องเกินกำลังที่เคยใช้จากปกติ เช่น เดิมเคยขับความเร็วปกติอยู่เรื่อยๆ ไม่เคยมีความผิดปกติของความร้อนขึ้น แต่วันดีคืนดี เกิดอยากขับรถเร็วมากๆนานๆ หรือ ขึ้นเขาสูงชัน ความร้อนก็อาจจะขึ้นได้ชั่วคราว เนื่องจาก หม้อน้ำระบายความร้อนที่อยู่ในรถ เตรียมขนาดเอาไว้สำหรับขับปกติ (ไม่ได้เผื่อขนาดของหม้อน้ำไว้สำหรับใช้งานหนัก)
ข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อรวมกัน (สมาชิกท่านใดคิดออกมากกว่านี้ ก็ช่วยเพิ่มเติมด้วยครับ)


ย่อหน้าแรกผมเล่าถึงการที่ให้หยุดรถข้างทาง(อย่าดับเครื่องทันที) เมื่อพบว่าความร้อนขึ้นผิดปกติ โดยรอให้ความร้อนลดลงถึงระดับปกติเดมที่เคยใช้ก่อนค่ อยดับเครื่องนั้น เพื่อป้องกันอาการช๊อคของเครื่องยนต์ เพราะว่า เครื่องยนต์ที่ร้อนจัดนั้น โลหะต่างๆยืดขยายสูงมาก อยู่ๆดับเครื่อง จะมีการหดตัวของโลหะบางอย่างจนทำให้เครื่องยนต์พังได ้ เช่น วาล์ลคด ฝาสูบโก่ง เป็นต้น
อาการดังกล่าวถ้าเปรียบเทียบกับร่างกายมนุษย์นั้น ได้กับ การออกกำลังกายจนเกิดความร้อนถึงขีดสุด แล้วหยุดออกกำลังกายทันที รีบกินน้ำเย็น พวกนี้ จะมีผลกระทบต่อระบบหัวใจโดยตรงครับ ใครที่เป็นโรคหัวใจอยู่บ้าง อาจจะช๊อคตายได้เลยครับ จริงๆแล้วต้องค่อยๆลดการออกกำลังกายให้อุณหภูมิในร่า งกายลดลงระดับที่ร่างกายรับได้ก่อนครับ
__________________
JZM - 5

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Moonlight : 04-12-2009 เมื่อ 12:49.
Moonlight is offline   ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
The Following 2 Users Say Thank You to Moonlight For This Useful Post:
Juomaru (07-06-2010), maxximum (08-10-2009)