ดูแบบคำตอบเดียว
เก่า 31-08-2009, 12:49   #3
Moonlight
Super Moderator
 
รูปส่วนตัว Moonlight
 
วันที่สมัคร: Oct 2006
Car Brand: My Brand
Engine Type: 2JZ-GE VVT-i A/T
ที่อยู่: กรุงเทพฯ
กระทู้: 1,768
Thanks: 633
Thanked 8,042 Times in 1,296 Posts
คะแนน: 19 Moonlight is on a distinguished road
ส่งข้อความผ่าน MSN ถึง Moonlight
รถ W124 มีที่ว่างห้องเครื่องเหลือเฟือ แล้วทำไมไม่ใช้ พัดลมฟรีปั๊ม กลับแปลงเป็น พัดลมไฟฟ้า น่าจะเรียกตามคำพังเพยที่ว่า "ใกล้เกลือกินด่าง"

ความร้อนที่ขึ้นสูงถึง 100 ในการวิ่งที่ระดับความเร็วเกิน 120 ก.ม. และช่วงรถติดในเมือง ความร้อนอยู่ที่ 90 - 95 นั้น ผิดปกติแน่นอนครับ

เมื่อข้อมูลที่ให้มาวิเคราะห์นั้นไม่ค่อยพอ จึงจำเป็นต้องใช้วิธีเดา แบบวิเคราะห์สถานการณ์ความเป็นไปได้นะครับ

  • จะเดาว่าเป็นเพราะพัดลมระบายความร้อนไม่ทัน หรือพัดลมเป่าหน้าคอนเดนเซอร์แอร์ เป็นเป็นตัวระบายความร้อนของคอยล์ร้อนแอร์ และทำให้ที่ส่งอากาศผ่านเข้าหม้อน้ำ ทำงานด้อยประสิทธิภาพ ก็รู้สึกว่า เหตุผลนี้ไม่น่าจะถูกต้องนัก เพราะว่า ความร้อนขึ้นสูงเมื่อขณะวิ่งด้วยความเร็ว ซึ่ง หมดหน้าที่หลักของพัดลมไปแล้ว เพราะว่า แรงปะทะอากาศขณะที่วิ่งด้วยความเร็วนั้น ยังแรงกว่าพัดลมเสียอีก แต่ก็ยังสามารถทำให้ความร้อนขึ้นได้ ครับ
  • ดังนั้น ประเด็นหลักๆ จึงต้องตกมาที่ การระบายน้ำให้วนเข้าหม้อน้ำระบายความร้อนไม่ทัน แล้วจะเป็นไปได้อย่างไร เพราะว่า รอบเครื่องยนต์ขณะที่รถวิ่งด้วยความเร็วสูงนั้น จะต้องไม่ต่ำกว่า 2200 รอบแน่นอน รอบเครื่องขณะนั้น จะนำพาปั๊มน้ำ ขับดันน้ำออกมาที่หม้อน้ำเพื่อระบายความร้อนได้เร็วอ ย่างแน่นอน ถึงแม้ว่า เครื่องยนต์จะทำงา่นหนักจนสร้างความร้อนสะสมขึ้นในเค รื่องยนต์ก็ตาม ดังนั้นจึงของวิเคราะห์ชี้ประเด็นนี้ ออกมาจากการแก้ไขแบบเบา จนถึงระดับหนัก ดังนี้ครับ
  1. วาล์วน้ำ ทำงานบกพร่อง โดยเปิดไม่สุด ทำให้เกิดการปิดกั้นทางเดินน้ำแบบคอขวด จะทำให้ ความเย็นของน้ำที่ถูกระบายความร้อนไปแล้วนั้น เข้าไปผสมกับความร้อนในเครื่องยนต์เพื่อช่วยลดความร้ อนไม่ทันครับ
  2. หม้อน้ำหรือท่อน้ำ เกิดตะกรัน จนกระทั่งตีบตัน ทำให้ น้ำร้อนที่มาจากเครื่องยนต์ ไหลเข้าไปหม้อน้ำเพื่อระบายความร้อนไม่สะดวก
  3. ใบพัดปั๊มน้ำสึกกร่อนชำรุด ทำให้ เวลารอบเครื่องยนต์จัดๆ แต่ไม่สามารถ ให้รอลเครื่องยนต์นำพาใบพัดปั่นน้ำให้ผลักดันน้ำร้อน ออกไปที่หม้อน้ำได้เร็วๆ และนำพาน้ำเย็นจากที่ถูกบำบัดแล้วเข้ามาผสมระบายความ ร้อนในเครื่องยนต์ได้ทันครับ
__________________
JZM - 5

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Moonlight : 31-08-2009 เมื่อ 12:51.
Moonlight is offline   ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
The Following 10 Users Say Thank You to Moonlight For This Useful Post:
amata-idea (19-08-2010), CIVIL (16-09-2009), gto_angel (18-09-2009), leo20088 (16-09-2009), mart (24-12-2009), printset (11-09-2016), sompob (16-09-2009), somsakw (16-09-2009), traitap (16-09-2009), wee18 (16-09-2009)