หัวข้อ: club jz@sakonnakhon
ดูแบบคำตอบเดียว
เก่า 27-08-2009, 14:57   #3095
คนป่า
ClubJZ Old Full Member
 
รูปส่วนตัว คนป่า
 
วันที่สมัคร: May 2008
Car Brand: mitsu เฉินหลง
Engine Type: 1-jz-gte
ที่อยู่: clubjz@sakonnakhon
กระทู้: 823
Thanks: 92
Thanked 117 Times in 92 Posts
คะแนน: 17 คนป่า is on a distinguished road
สาระดีๆ

เรกกูเรเตอร์ หรือ ตัวควบคุมแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง

--------------------------------------------------------------------------------

เรกกูเรเตอร์ หรือ ตัวควบคุมแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดในระบบเชื้อเพลิง
โดยมีหน้าที่ควบคุมแรงดันน้ำมันที่ดูดมาจากถังน้ำมัน ปั้มน้ำมันหรือปั้มติ๊ก แล้วถูกส่งไปยังท่อน้ำมัน
แล้วผ่านระบบกรองน้ำมันหรือ กรองเบนซิล จึงไหลเข้าสู่รางหัวฉีดแล้วจึงจะไหลผ่านเจ้า เรคกูเรเตอร์ก่อนไหลกลับสู่ถังน้ำมันไหลกลับ

หน้าที่การทำงานด้วยสุญญากาศ
เรคกูเรเตอร์ จะทำงานร่วมกับระบบสุญญากาศ โดยสังเกตุเห็นว่าบนหัวของเรคกูเรเตอร์ทุกตัว
จะมีท่อสูญญากาศเล็กๆเพื่อต่อกับท่อร่วมไอดีด้านหลัง ลิ้นปีกผีเสื้อ ดังนั้นเมื่อเหยียบคันเร่งน้อยเเรงดูดจากเครื่องจะมา กอากาศไหลผ่านลิ้นน้อย
สูญญากาศก็เกิดมาก เมื่อเหยียบคันเร่งมากอากาศไหลผ่านลิ้นมากสูญญากาศก็ เกิดน้อย
แรงดูดตัวนี้หละที่จะคอยควบคุมให้เรกกูเรเตอร์ทำงานเ พื่อควบคุมเเรงดันน้ำมันให้คงที่
ไม่ว่าจะลิ้นปีกผีเสี้อจะเปิดมากหรือเปิดน้อยก็ตามที

เริ่มต้นการทำงานตั้งแต่ก่อนสตาร์ทเครื่อง
เมื่อเราเปิดสวิทย์กุญแจ ปั้มน้ำมันเชื้อเผลิงจะทำงาน
แรงดันน้ำมันจะสูงมาก เพราะเครื่องยังไม่ติด ไม่มีแรงดูดสุญญากาศเเละเมื่อเราเริ่มสตาร์ทเครื่อง
จะทำให้หัวฉีด ฉีดน้ำมันมากทำให้เครื่องยนต์
์สตาร์ทติดง่าย เมื่อเครื่องติดแล้วในรอบเดินเบา
เครื่องยนต์ต้องการน้ำมันน้อย เรกกูเรเตอร์จะเปิดน้ำมัน
ให้ไหลกลับสู่ถัง ไหลกลับมาก เพื่อให้ประหยัดน้ำมัน

เมื่อเริ่มต้นเหยียบคันเร่ง
เครื่องยนต์จะต้องการปริมาณน้ำมันเเพิ่มขึ้น
ตามความต้องการของเครื่องยนต์ ที่ต้องการเร่งรอบ
ให้สูงขึ้นโดยรับข้อมูลมาจากเซนเซอร์ต่างเช่น
airfrowmeter , totelsensor,vaccumesensor,
และเซนเซอร์รอบเครื่องยนต์โดยทั้งหมด
นี้จะส่งข้อมูลไปยังกล่อง ECU โดยกล่อง ECU
จะไปสั่งให้หัวฉีด ฉีดน้ำมันถี่ขึ้นเพื่อเร่งรอบเครื่องยนต ์ ปริมาณการใช้น้ำมันสูงขึ้นซึ่งอาจทำให้แรงดันน้ำมัน
ในรางหัวฉีดตกลง ก็เจ้าเรกกูเรเตอร์นี่แหละ
ที่จะคอยควบคุม ให้แรงดันน้ำมันเพิ่มขึ้นโดย
ทำการปิดน้ำมันไหลกลับสู่ถังน้ำมันไหลกลับน้อยลง

ทฤษฎี
แรงดันน้ำมันในรางหัวฉีดจะอยู่ที่ 2.5-3.3 bar หรือ 36-48 ปอนด์ แล้วแต่ spec ของเครื่องแต่ละยี่ห้อเช่น Toyota จะกำหนดไว้ที่ 2.7 bar Mitsubishi จะกำหนดไว้ที่ 3.3 bar และ Nissan,Honda จะกำหนดไว้ที่ 2.5 bar
เพื่อให้ส่วนผสมของอากาศ และน้ำมันในการเผาไหม้อยู่ที่ 14.7-15 : 1 คือ อากาศ 14.7-15 ต่อน้ำมัน 1 ส่วน
จึงจะถือว่าการเผาไหม้สมบูรณ์ที่สุด ดั้งนั้นเรคกูเรเตอร์ต้องทำหน้าที่รักษาแรงดันน้ำมัน ให้สอดคล้องกับ
ปริมาณการฉีดน้ำมันของหัวฉีดในแต่ระรอบความเร็ว

เปลี่ยนใหม่ดีหรือไม่
ในเครื่องยนต์ standard เรคกูเรเตอร์มีโอกาสเสียหายได้ เช่นแผ่นไดอะแฟรมขาดเกิดการกระทบ
กระเเทกรุนเเรง การอุดตันในท่อสุญญากาศ และอาการค้างไม่ยอมให้น้ำมันไหลกลับในเครื่องยนต
์ที่ไม่ใช้งานนานๆ มีผลให้ เครื่องยนต์สตาร์ทไม่ติด สตาร์ทติดยาก ไม่มีแรง หรือทำให้กินน้ำมันมากผิดปกติ จึงควรตรวจเช็คหรือทำการเปลี่ยนเสียใหม่

ในเครื่องยนต์โมดิฟลายในเสตปเริ่มต้น หรือเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ ติดเทอร์โบเพิ่ม เปลี่ยนเทอร์โบใหม่ หรือปรับบูชให้สูงขึ้น ส่วนใหญ่แล้วยังถือว่า ยังไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเรคกูเรเตอร์ เพราะเรคกูเรตอร์
ที่ติดตั้งมา ให้กับเครื่องยนต์แต่ละรุ่นได้ออกแบบมาได้เพียงพอต่อ การใช้งานแล้ว หรือบางรุ่นทำงานได้ดีกว่า
แบบปรับตั้งได้เสียอีก ดังนั้นควรจะหันมาใส่ใจ ปั้มน้ำมันเชื้อเผลิงจะดีกว่าเพราะมีผลต่อความต้องกา ร
ของเครื่องยนต์แท้จริง

ในเครื่องยนต์ทีมีการโมดิฟลายในสเตปสูง เช่นการเปลี่ยนหัวฉีดให้มีซีซีสูงขึ้น เปลี่ยนรางหัวฉีด
ที่มีขนาดใหญ่ เพิ่มปั้มแรงดันน้ำมันเชื้อเผลิง เปลี่ยนแอร์โฟร์ ลิ้นปีกผีเสื้อให้มีขนาดใหญ
่ ขยายปริมาตรกระบอกสูบ จนเรคกูเรเตอร์เดิมไม่สามารถรองรับการใช้งานได้ ควรเปลี่ยนเสียใหม่
ทั้งนี้ต้องติดตั้งเกจ์วัดแรงดันน้ำมันเพื่อใช้ในการ อ้างอิงในการปรับจูนอยู่เสมอ

การติดตั้ง

ก่อนทำการติดตั้งควรหาเกจ์วัดแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง
มาตรวจวัดเสียก่อนว่าแรงดันที่ใช้อยู่
ในปัจจุบันมีค่าเท่าไร เพื่อตรวจเช็คความพร้อม
ของระบบ และอ้างอิงถึงเเรงดันของเรกกูเรเตอร
์ที่จะถูกเปลี่ยนเข้าไปใหม่

ในบางยี่ห้อที่ทำชุดคิดมาสำหรับเเต่ละเครื่องยนต์ สามารถถอดของเดิมออกและนำของใหม่ใส่แทน
ลงไปได้เลย

ในยี่ห้อที่ต้องติดตั้งใหม่ ควรถอดเรกกูเรเตอร์เดิมออก
แล้วกลึงน็อต หรือต่อท่อไหลกลับมายังเรกกูเตอร์ใหม่ แล้วต่อท่อไหลกลับลงสู่ถังน้ำมัน และอย่าลืมต่อท่อ
สุญญากาศ ที่หัวของเรกกูเรเตอร์แทนที่ของเดิม
หรือหลังลิ้นปีกผีเสื้อไว้ด้วย

การติดตั้งควรอยู่ห่างจากความร้อนเช่นท่อไอเสีย จุดหมุนพวกสายพานต่างๆ และควรสร้างจึดยึด
ให้แน่นหนา เพื่อไม่ให้แกว่งไปตามแรง
เครื่องยนต์ จนท่อน้ำมันเกิดการฉีกขาดได้

ควรเปลี่ยนท่อน้ำมันเชื้อเผลิง และเหล็กรัด
ไปใช้ที่สามารถทนเเรงดันสูงขึ้นเพราะต้องรับภาระ
แรงดันน้ำมันสูงจนเกิดการหลุดแตก

ข้อดี
สามารถเพิ่มปริมาณการฉีดน้ำมันให้สูงได้ง่ายๆ ทำให้เครื่องยนต์มีแรงขึ้นแก้ไขในกรณีปั้มเเรงดันเชื ้อเพลิง
เริ่มเสื่อมประสิทธิภาพ และในการปรับจูนเครื่องยนต์ให้ที่ต้องการแรงดันน้ำมั นสูงกว่าปกติมากๆ

ข้อเสีย
ในเครื่องยนต์ที่เรคกูเรเตอร์เดิมสามารถทำงานได้ดีอย ู่แล้ว หรือปรับแต่งไม่ถูกต้อง ทำให้เครื่องยนต์กินน้ำมัน
โดยใช่เหตุ เครื่องแรงตก แรงต้นปลายไม่แรงเผาไหม้ไม่หมดเกิดมลภาวะ หรือถ้าแรงดันน้ำมัน น้อยเกินไป
ทำให้ส่วนผสมบางเครื่องยนต์อาจพังได้
คนป่า is offline   ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
The Following User Says Thank You to คนป่า For This Useful Post:
nibley (05-02-2010)